การสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ในค่ายโครงการ ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สาริกข์ พรหมมารัตน์ พ.บ., ว.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • สุประวีณ์ กันทะวงค์ ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • กิตติพันธ์ ฉลอม พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, ไข้หวัดใหญ่, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลลำพูน ได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ณ ค่ายโครงการศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จึงดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาด ศึกษาปัจจัยของการระบาดและหาแนวทางการควบคุมโรค ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก กำหนดนิยามคือ ผู้เข้าค่าย หรือวิทยากรที่มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือให้ประวัติมีไข้และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร่วมกับอาการอื่นอย่างน้อยหนึ่งอาการ ได้แก่ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย คัดจมูก
เยื่อบุตาอักเสบ ระหว่างวันที่ 1-16 กุมภาพันธ์ 2563 ดำเนินการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ด้วยวิธีการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ผลการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกพบผู้ป่วยตามนิยาม 29 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 25.70 ทั้งหมดได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และพบว่าปัจจัยเสี่ยงของการระบาดในครั้งนี้ ได้แก่ การมีเพื่อนที่ร่วมรับประทานอาหารมีอาการป่วย (AOR=6.14, 95%CI=1.49-25.30) การล้างมือด้วยน้ำเปล่าเมื่อเทียบกับการล้างมือด้วยน้ำสบู่ (AOR=5.92, 95%CI=1.67-21.16) การนอนในอาคารที่อากาศถ่ายเทไม่ดี (AOR=4.09, 95%CI=1.11-15.04) โดยภายหลังจากการดำเนินการควบคุมโรค โดยการแยกผู้ที่มีอาการป่วยออกจากผู้ที่ไม่มีอาการป่วย การเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารเป็นแบบอาหารจานเดียว เน้นการล้างมือให้ถูกต้อง ใส่หน้ากากอนามัย ทำให้การแพร่ระบาดในครั้งนี้ยุติลง

References

กัญญาภัค ศิลารักษ์, ถนอม นามวงศ์, สุภาวรรณ เลิศทรัพย์พูลทวี และคณะ. (2561). การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 2009 ในทหารใหม่กองร้อยอาวุธเบา ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร เดือนพฤษภาคม 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(52), 817-824.

ถนอม นามวงศ์, เพ็ญศิริ วิศิษฐ์ผจญชัย, สุกัญญา คำพัฒน์ และคณะ (2559). การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19–22 กุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(50), 785-791.

ธนัญญา สุทธวงค์, วัลภา ศรีสุภาพ, รุ่งกานต์ แสงศิริ และคณะ. (2562). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1N1) ในเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 50(23), 341–349.

พรทิพภา เล็กเจริญสุข. (2557). ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ และไข้หวัดใหญ่สุกร. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภาวพันธ์ ภัทรโกศล. (2551). ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก. กรุงเทพมหานคร: สมาคมไวรัสวิทยา ประเทศไทย.

ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2562). รายงานการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ระหว่าง ม.ค. – พ.ย. 2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thainihnic.org/influenza/files/รายงานการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ระหว่างม.ค.-พ.ย.2562.pdf

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ปี 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/files/dvpd/1_Influenza%20Manual%20%20yr%2063_V_9P.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563] ; แหล่งข้อมูล: URL: http://odpc8.ddc.moph.go.th/upload_epi_article/dWoQeKhEGHvLqR1IfCYF.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรค influenza [ออนไลน์].[สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y62/d15_5362.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 โรค influenza [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=15

อภิญญา ดวงสิน, อนุพงศ์ สิริรุ่งเรือง และสุภาภรณ์ มิตรภานนท์. (2558). การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) ในกองพันฝึกทหารใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 46(32), 497-503.

อำนาจ ไชยเทศ. (2558). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันที่ 4-26 กุมภาพันธ์ 2556. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 11(1), 21-29.

เอกชัย ยอดขาว, วาธี สิทธิ, อัครเดช อวัสดารักษ์ และคณะ. (2555). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 43(พิเศษ), S23-S28.

World Health Organization. (2018). Influenza (Seasonal) [online]. [cited 11 July 2020]. Available from: URL: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป