ประสิทธิผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศิริพร นวกะวงษ์การ พ.บ., วว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมการเลิกบุหรี่, การฝังเข็ม, การกดจุดสะท้อนเท้า, สมุนไพร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่อาศัยในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน 65 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึง กันยายน 2561 จำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม โดยทุกคนจะได้รับความรู้เรื่อง พิษภัยบุหรี่ การกดจุดสะท้อนเท้าและการใช้สมุนไพรเลิกบุหรี่ นำไปใช้กับตนเองที่บ้านหลังจากติดตาม 1 สัปดาห์ หากไม่สามารถลดการสูบบุหรี่ได้จะถูกแนะนำให้ใช้การฝังเข็ม หรือยาเม็ดเลิกบุหรี่ เพื่อช่วยในการบำบัดเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอดและจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มเดียวกันก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพบว่า กลุ่มที่ให้ความรู้เรื่อง พิษภัยบุหรี่ การกดจุดสะท้อนเท้า การใช้สมุนไพรเลิกบุหรี่ และการฝังเข็มเลิกบุหรี่หรือการใช้ยาเม็ดเลิกบุหรี่มีจำนวนมวนการสูบบุหรี่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ เมื่อเปรียบเทียบโปรแกรมการบำบัดรักษาทั้ง 4 โปรแกรมพบว่า กลุ่มที่ให้ความรู้เรื่อง พิษภัยบุหรี่ การกดจุดสะท้อนเท้า การใช้สมุนไพรเลิกบุหรี่ และการฝังเข็มเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 86.67, 86.67 และ 80.00 ที่ระยะเวลา 3 เดือน, 6 เดือน และ 1 ปี ตามลำดับโดยที่กลุ่มนี้ใช้เวลาการรักษาบำบัดเพียง 1 เดือน ซึ่งอาจนำผลวิจัยไปเป็นข้อมูลทางเลือกให้กับผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเลิกบุหรี่ต่อไป

References

กนิษฐา ใจเย็น. (2560). ลด เลิกบุหรี่ ด้วยวิธีแพทย์แผนจีน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.huachiewtcm.com/content/6249

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2563). แพทย์แผนไทยชูสมุนไพร “หญ้าดอกขาว-มะนาว” ช่วยเลิกบุหรี่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.hfocus.org/content/2020/05/19460

เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (2560). สรุปการดำเนินงาน DHS–PCA–รพ.สต.ติดดาว. เอกสารประกอบการนำเสนอผลงาน พ.ศ. 2560

ปรีดา เบญจนากาศกุล. (2549). ประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่. ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์, วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์, ฐิติพร กันวิหค และสุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ในสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค, 46(2), 206-218.

ธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์ (2560). กดจุดสะท้อนเท้าช่วยเลิกบุหรี่. ใน: วินัย แก้วมุณีวงศ์ และธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์, บรรณาธิการ. กรมการแพทย์ทางเลือก นวัตกรรมการดูแลสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักการแพทย์ทางเลือก

สุภาภรณ์ ปิติพร, อุไรวรรณ โชติเกียรติ, ศิริพร พูลทรัพย์ และคณะ. (2562). การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเบื้องต้นของสเปรย์หญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 13(2), 117-127.

สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา (2555). การบำบัดโรคเสพยาสูบ สำหรับผู้ป่วยที่ประสงค์จะเลิก. ใน: สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา และสุรจิต สุนทรธรรม, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติอิงหลักฐานสำหรับการบำบัดโรคเสพยาสูบในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สหประชาพาณิชย์ จำกัด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N31-08-61-1.aspx

อัมพร กรอบทอง, ธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์ และทิพวัลย์ ธีรสิริโรจน์. (2558). การศึกษาเบื้องต้นแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุมของผลสัมฤทธิ์การนวดกดจุดสะท้อนเท้ารักษาผู้ป่วยติดบุหรี่. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 13(1), 35-43.

อมรรัตน์ มานะวัฒนวงศ์, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, สุพล ลิมวัฒนานนท์ และคณะ. (2560). ผู้ป่วยด้วย NCD มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอยู่มากน้อยแค่ไหน: รายงานจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(3), 345-354. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://ihppthaigov.net/DB/publication/attachdomestic/274/Full-text.pdf

Wang, Y. Y., Liu, Z., Wu, Y., et al. (2016). Acupuncture for smoking cessation in Hong Kong: a prospective multicenter observational study. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 1-9.

World Health Organization. (2018). Tobacco Breaks Heart. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/272675/WHO-NMH-PND-18.4-eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป