ความชุกและการกระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความชุก, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2561 ประชากรเป็นผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกคนที่ได้รับการตรวจส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่ และได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในการหาความชุกและการกระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จำแนกตามพื้นที่ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามพื้นที่อยู่อาศัยด้วยสถิติไคสแควร์ และเปรียบเทียบอายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามพื้นที่อยู่อาศัยโดยทดสอบ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 658 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.02 เพศหญิง ร้อยละ 44.98 มีอายุเฉลี่ย 65.54±11.49 ปี เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 21.12 มีการอักเสบของลำไส้ ร้อยละ 0.46 มีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 7 ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 8.81 ไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว ร้อยละ 98.94 และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 31.46 ความชุกโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2561 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (2.57, 4.33, 15.66, 21.24 และ 27.22 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ) ส่วนอัตราตายโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2561 มีแนวโน้มลดลง (1.43, 1.83, 3.43, 3.23 และ 2.84 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ) โดยปัจจัยด้านประวัติการสูบบุหรี่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่อยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อการป้องกันโรคและการรายงานผลทางด้านสาธารณสุขต่อไป
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf
รติยา วิภักดิ์, นิรุวรรณ เทรินโบล์ และเสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(พิเศษ), 162-179.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โฆษิตการพิมพ์ จำกัด.
สมเกียรติ ลลิตวงศา, ดลสุข พงษ์นิกร, กาญจนา ดาวประเสริฐ และคณะ. (2557). อุบัติการณ์โรคมะเร็งใน ภาคเหนือของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551-2555. ลำปาง: อาท รูม ดีไซน์ ลำปาง.
สำนักนโยบายและแผนและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข Version2.2 (กันยายน 2559) ปีงบประมาณ 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเล่ม 1 การบริหารงบเหมาจ่ายรายหัวในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2560). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2559). ข้อมูล สถิติสาธารณสุข.[ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/all_it.php
Imsamran W., Pattatang A., Supaattagorn P., et al. (2018). Cancer in Thailand Vol.IX, 2013-2015. Bangkok: NEW THAMMADA PRESS (THAILAND) CO., LTD.
National Cancer Institute. (2019). Colorectal Cancer Prevention (PDQ®)-Health Professional Version [online]. [cited 2020 July 29]; Available from: URL: https://www.cancer.gov/types/colorectal/hp/colorectal-prevention-pdq
Siegel, R. L., Fedewa, S. A., Anderson, W. F. et al. (2017). Colorectal cancer incidence patterns in the United States, 1974–2013. Journal of the National Cancer Institute, 109(8), 1-6.
World Cancer Research Fund & American Institute for Cancer Research. (2017). Diet, nutrition,physical activity, and colorectal cancer [online]. [cited 2020 July 28]; Available from: URL: https://www.wcrf.org/wp-content/uploads/2021/02/Colorectal-cancer-report.pdf
World Health Organization. (2020). Global Health Observatory. [online]. [cited 2020 July 28]; Available from: URL: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/cancers/39-All-cancers-fact-sheet.pdf
World Health Organization. (2020). Global Health Observatory. [online]. [cited 2020 July 28];Available from: URL: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheets.pdf
Yeoh, K. G., Ho, K. Y., Chiu, H. M. et al. (2011). The Asia-Pacific Colorectal Screening score: a validated tool that stratifies risk for colorectal advanced neoplasia in asymptomatic Asian subjects. Gut, 60(9), 1236-1241.