ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ สุวรรณ พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • สุชาดา เจะดอเลาะ พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ชนิกานต์ สมจารี พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • พัชรินทร์ คมขำ พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์), พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน และมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียน การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กวัยเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผลการตรวจสุขภาพนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2561 ของศูนย์สุขภาพชุมชนธนวิถี จำนวน 191 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติต่อการบริโภคอาหาร ความเชื่อต่อภาวะน้ำหนักเกิน ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.14, S.D.=0.32) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ประกอบด้วย ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับการบริโภค (r=0.257) ปัจจัยเอื้อ (r=0.391) และปัจจัยเสริม (r=0.315) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับเด็กวัยเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยเน้นการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเข้าถึงแหล่งอาหาร และการได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว ครู และเพื่อน เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไป

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6-14 ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ระดับเขตสุขภาพ. [online].[สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/overweightstudent/index?year=2018

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารทหารบก, 18(พิเศษ), 1-8.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิตร มั่งมี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิรภาภรณ์ ปัญญารัตนโชติ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 43-56.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง, สุจิตรา จรจิตร และกานดา จันทร์แย้ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา: การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 245-264.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2558). โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน จากอณูสู่ชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ: ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นัชชา ยันติ, อถิญญา อุตระชัย และกริช เรืองไชย. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปาริชาติ โรจน์พลากร-กู๊ช และยุวดี ฦาชา. (2556). สถิติสำหรับงานวิจัยทางการพยาบาล และการใช้โปรแกรม SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.

ประกาย จิโรจน์. (2556). การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3), 287–297.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ปัญจภรณ์ ยะเกษม และนุชจรีรัตน์ ชูทองรัตน์. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(1), 30–43.

ศศิกร เสือแก้ว. (2553). การป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์สุขภาพชุมชนธนวิถี. (2562). รายงานผลการตรวจสุขภาพนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2561. ยะลา: ศูนย์สุขภาพชุมชนธนวิถี.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (2559). รายงานการเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กวัยเรียนอายุ 7 – 12 ปี ปีงบประมาณ 2559. ยะลา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการคัดกรอง ส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุข และคลินิก DPAC. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เสาวลักษณ์ ทรัพย์อาภรณ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักตัวเกิน. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม:มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อภิญญา อุตระชัย และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 469-476.

Christoph, M. J., An, R., & Ellison, B. (2016). Correlates of nutrition label use among college students and young adults: a review. Public health nutrition, 19(12), 2135-2148.

Green, L. W., & Kreuter, M.W. (2005). Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield.

World Health Organization. (2020). Obesity and overweight [online]. [cited May 6, 2020]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป