ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการทางการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วิเชียร เพ็งสวย ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การรับบริการ, แพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการทางแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมารับบริการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 60.70 โดยรับบริการนวดมากที่สุด ร้อยละ 33.62 รองลงมาใช้ยาสมุนไพร ร้อยละ 24.42 การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับการรับบริการทางการแพทย์แผนไทย พบว่า ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนครั้งของการมารับบริการ การรับรู้คุณภาพบริการ ระยะเวลาในการรอคอยรับบริการ ปัจจัยบริการ (ความรวดเร็วในการให้บริการ ความมั่นใจในการรักษา ความเชี่ยวชาญในการรักษา และอธิบายขั้นตอนในการรักษา) การได้รับข่าวสารจากบุคคลอื่น และประวัติการรับการรักษาโรคมีความสัมพันธ์กับการรับบริการทางการแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ดังนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริการแพทย์แผนไทย และจัดทำแผนผังแสดงขั้นตอนการให้บริการแพทย์แผนไทย พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการรอคอยรับบริการในแต่ละจุดบริการให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้มารับบริการทราบและเข้าใจขั้นตอนการให้บริการ รวมถึงสามารถบอกต่อถึงข้อดีและประโยชน์ของการรับบริการแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้บริการแพทย์แผนไทยมากขึ้นต่อไป

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กุสุมาลย์ น้อยผา, วิทวัส หมาดอี และปิยนุช สุวรรณรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของประชาชน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(1), 59-68.

ขวัญชนก เทพปัน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, นพพร โหวธีระกุล และมธุรส ทิพยมงคลกุล. (2559). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแพทย์แผนไทย ของประชาชนผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลทั่วไปจังหวัดราชบุรี.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฑามาส กุลศัตยาภิรมย์, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, จุฑาธิป ศีลบุตร และภูษิตา อินทรประสงค์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลราชบุรี: ตามการรับรู้ของ ผู้รับบริการ. ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 11; วันที่ 13-14 มิถุนายน 2562; ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัด นครปฐม.

จุฑารัตน์ เสรีวัตร. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในนักศึกษาคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). สาขาวิชาสุขศึกษา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชวลิต สารทช้าง. (2554). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมสุขภาพอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่.ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์.

ประวิ อ่ำพันธุ์. (2560). รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.dtam.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=486:pr0256&catid=8&Itemid=114&lang=th

เสาวภา ชูวา, สุธี อยู่สถาพร, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ (2563). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง. การประชุมนานาชาติวิทยาลัยนครราชสีมา. 422-431.

ศุภลักษณ์ ฟักคำ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้การแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการให้บริการด้านสุขภาพ ในโรงพยาบาล สังกัดกองทัพบก เขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 1. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). สาขาวิชาสุขศึกษา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุรดา มาพันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแพทย์แผนไทยของผู้มารับบริการโรงพยาบาลบางปลาม้า. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศรุดา เพ็งสวย. (2562). การรับรู้คุณภาพบริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสวรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ :มหาวิทยาลัยมหิดล.

Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization. (5th ed.). Missouri: Elsevier Saunders.

Penchansky, R., & Thomas, J. W. (1981). The consept of access edfinition and relationship to consumer satisfation. Medical Care, 19 (2), 127-140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป