การพัฒนารูปแบบการดูแลพระสงฆ์อาพาธที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะในโรงพยาบาลสงฆ์

ผู้แต่ง

  • วรศักดิ์ ขวัญเจริญทรัพย์ พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, ต่อมลูกหมากโต, การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะ, การป้องกันการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการดูแลพระสงฆ์อาพาธที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ ทำการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 - มิถุนายน 2564 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยและสำรวจปัญหาและความต้องการการดูแลของพระสงฆ์อาพาธและทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแล ระยะที่ 3 ดูแลพระสงฆ์อาพาธที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะในกลุ่มทดลอง จำนวน 22 รูป ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จากแรกรับถึงหลังจำหน่าย 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม จำนวน 22 รูป ได้รับการดูแลตามปกติ ประเมินผลลัพธ์และความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยหลังจากการใช้รูปแบบฯ ด้วยสถิติ Independent Sample t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการตรวจร่างกาย และการซักประวัติ การประเมินความพร้อมในการผ่าตัด การให้ข้อมูลการผ่าตัดโดยใช้แผ่นพับและการเล่าประสบการณ์ การจัดการความวิตกกังวล การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดในสถานการณ์โควิด-19 และการติดตามหลังจำหน่าย 2) กลุ่มทดลองฟื้นตัวด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุม (p-value<0.05) ด้านความเจ็บปวดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง และมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p-value<0.05) ส่วนความเจ็บปวดหลังผ่าตัด 72 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน 3) พระสงฆ์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลฯ ในระดับมาก (̅ =4.45, S.D.=0.25) ดังนั้นรูปแบบการดูแลพระสงฆ์อาพาธที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการฟื้นตัวและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะได้

References

กฤษณกมล วิจิตร. (2547). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน โดยใช้สื่อวิดีทัศน์ภาษาถิ่นล้านนาต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก.พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ มนูญญา และสกาวเดือน ขำเจริญ. (2564). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร. วารสารวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(1), 13-24.

ดวงดาว อรัญวาสน์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี และกชกร พลาชีวะ. (2555). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วิสัญญีสาร, 38(2),102-108.

ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชัย บุณยะรัตเวช, อภิรักษ์ สันติงามกุล, กมล ภานุมาศรัศมี และคณะ. (2554). ต่อมลูกหมาก. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(1), 9-20.

ศรีวภา ธนรักษ์ และประภาวดี โทนสุข. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และการจัดการตนเองของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(4), 1283-1296.

สุทธินี ชัยเฉลิมศักดิ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และวีนัส ลีฬหกุล. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการทำผ่าตัดกระดูกสันหลัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(1), 144-160.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถิติสาธารณสุข 2553 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic53.pdf

หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสงฆ์. (2563). การฟื้นตัวของพระอาพาธหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะ (TURP).

อาภา ศรีสร้อย และอมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อแผ่นพับกับวีดิทัศน์ต่อการสอนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 203-211.

อินทิรา ไพนุพงศ์, วิภา แซ่เซี้ย และเนตรนภา คู่พันธวี. (2558). โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล, 30(1), 99-111.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice-Hall.

Collins, S. L., Moore, R. A., & McQuay, H. J. (1997). The visual analogue pain intensity scale: what is moderate pain in millimetres?. Pain, 72(1-2), 95–97.

García-Sánchez, M., Caballero-López, J., Ceniceros-Rozalén, I. et al. (2019). Management of analgesia, sedation and delirium in Spanish intensive care units: a national two-part survey. Medicina Intensiva (English Edition), 43(4), 225-233.

Mogensen, K., & Duelund Jacobsen, J. (2008). The load on family and primary healthcare in the first six weeks after transurethral resection of the prostate. Scandinavian journal of urology and nephrology, 42(2), 132-136.

Nickel, J. C., Méndez-Probst, C. E., Whelan, T. F., Paterson, R. F., & Razvi, H. (2010). 2010 Update: Guidelines for the management of benign prostatic hyperplasia. Canadian Urological Association Journal, 4(5), 310-316.

Pesha, A. (2016). Complications of transurethral resection of the prostate. Clinical Medicine Research, 5, 24-27.

Xu, P., Xu, A., Chen, B., et al. (2018). Bipolar transurethral enucleation and resection of the prostate: Whether it is ready to supersede TURP?. Asian Journal of Urology, 5(1), 48-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป