การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มผู้ต้องขังชาย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564

ผู้แต่ง

  • มนต์ทิวา สุนันตา พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ต้องขัง, ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ต้องขัง, ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

ผู้ต้องขังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง ทำให้มีการจัดบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเฉพาะสำหรับผู้ต้องขัง แต่ยังขาดการนำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชไอวีอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ต้องขังชาย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากแบบประเมินพฤติกรรมส่วนบุคคล ของกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีด้วยสถิติ Odds ratio (OR) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 775 ราย ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 1.42 ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มชายรักเพศเดียวกัน (ชายรักชายและหญิงข้ามเพศ) มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มชายรักต่างเพศ 16.85 เท่า (95%CI=4.91-57.83) กลุ่มที่เคยมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการ 15.64 เท่า (95%CI=1.99-122.79) กลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว 4.49 เท่า (95%CI=1.35-14.91) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ทางเพศของผู้ต้องขังและอาจสามารถนำไปเป็นแนวทางคัดกรองและพัฒนาการให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลตนเองในกลุ่มผู้ต้องขังที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีต่อไป

References

กรมราชทัณฑ์. (2564). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.correct.go.th/stathomepage/

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2564). ระบบรายงาน AIDs Surveillance System [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://aidsboe.moph.go.th/aids_system/

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นโครงการเกี่ยวกับพระราชวงศ์ (โครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ) ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/sordpc/news.php?news=16473&deptcode=sordpc.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2564). ฐานข้อมูลศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV Info Hub) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564];แหล่งข้อมูล: URL: https://hivhub.ddc.moph.go.th/

คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก. (2551). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี: ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

ชลลิสา จริยาเลิศศักดิ์. (2557). ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ของผู้ต้องขังชาย กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564];แหล่งข้อมูล: URL: http://aidssti.ddc.moph.go.th/researchs/view/2863

ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ. (2560). ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.

นงค์นุช สุรัตนวดี และเกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. (2563). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับการตรวจคัดกรองเอชไอวีที่คลินิกให้การปรึกษาและตรวจเลือดด้วยความสมัครใจของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(3), 38-51.

นิสิต คงเกริกเกียรติ, รสพร กิตติเยาวมาลย์ และเอกชัย แดงสอาด. (2558). แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

มนต์ทิวา สุนันตา. (2562). การใช้มาตรการ RRTTR เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ต้องขังของเรือนจำ แห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 15(2), 34–43.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล และชุติวัลย์ พลเดช. (2561). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ผลของการตีตราต่อผู้เป็นโรคเรื้อน วัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นโรคเอดส์. วารสารควบคุมโรค, 44(1), 19–30.

สภากาชาดไทย. (2564). ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสเชื้อในแต่ละครั้งมีโอกาสเสี่ยงมากน้อยเพียงใด [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://th.trcarc.org/ความเสี่ยงในการติดเชื้/

อังคณา แจ่มนิยม, นิสากร กรุ่งไกรเพชร และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2560). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจของผู้ต้องขังชายเรือนจำ เขต 7. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 57–68.

World Health Organization. (2021). HIV data and statistics. [online]. [cited 20 August 2020]; Available from: URL: https://www.who.int/teams/global-hiv-hepatitis-and-stis-programmes/hiv/strategic-information/hiv-data-and-statistics

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป