พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อและปัญหาภาวะสุขภาพจิตของประชาชน ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรก: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 1-2 ภาคเหนือ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ, ภาวะสุขภาพจิต, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ ความชุกของปัญหาภาวะสุขภาพจิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อกับภาวะสุขภาพจิตของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 1-2 ภาคเหนือ ในช่วงการระบาดระลอกแรกของไวรัสโคโรนา 2019 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 247 คน ระหว่างวันที่ 1-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ใช้แบบประเมิน Depress Anxiety Stress Scales (DASS-21) ฉบับภาษาไทยในการประเมินภาวะสุขภาพจิต โดยใช้สถิติไคสแควร์ และสหสัมพันธ์เชิงส่วนในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรม
การป้องกันโรคติดเชื้อ โดยการใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ร้อยละ 80.16 การซื้ออาหารมากินที่บ้าน ร้อยละ 74.09 การล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 68.02 กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และความเครียดอยู่ในระดับสูงถึงรุนแรง ร้อยละ 3.24, 3.64 และ 2.42 ตามลำดับ ปัจจัยด้านอายุ อาชีพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หากมีการระบาด “ระลอกใหม่” หรือ “การระบาดซ้ำ” ของไวรัสโคโรนา 2019 หรือการระบาดที่คล้ายกันในอนาคต การสร้างเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้ออาจช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตได้
References
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. (2563). ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจำหน่ายหน้ากากอนามัย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.dit.go.th/Content.aspx?m=12&c=28660
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563a). COVID-19 (EOC-DDC Thailand) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563b). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no455-020464.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2563a). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/069/T_0010.PDF?fbclid=IwAR1Zsl0Wgp9MEwWcbND3OaUocbqad_n2JZ94eSR0s0vy6B0G8DUV9j-X418
ราชกิจจานุเบกษา. (2563b). แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/024/T_0001.PDF
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา. (2563). ระบบบูรณาการข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://covid19.nrct.go.th/
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2563). กรุงเทพโพลล์: “อยู่ให้เป็น...หยุดให้ได้: COVID-19" [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.ryt9.com/s/bkp/3112813
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). จำนวนประชากรจากการทะเบียน ชาย หญิง และบ้าน จำแนกตามจังหวัด อำเภอ และเขตการปกครอง พ.ศ. 2561-2563. สำนักงานสถิติแห่งชาติ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563a). การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://ittdashboard.nso.go.th/img/covid/result_COVID-eco.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563b). ผลสำรวจผลกระทบด้านสังคม [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://ittdashboard.nso.go.th/covid19_report_social.php
Glomjai, T., Kaewjiboon, J., & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and Behavior of People regarding Self-care Prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Nursing Public Health and Education Journal, 21(2), 29-39.
Kaewsuksai, R., Kongkun, P., Tongkoop, B., Samaair, L., and Boonnarakorn, S. (2021). Relationships Between Knowledge, Perception, and the “New Normal Behaviors” for Preventing Coronavirus Disease (COVID-19) Infection among People in Narathiwat Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 67–79.
Khumsaen, N. (2021). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33–48.
Kittirattanapaiboon, P., Tantirangsee, N., Chutha, W., et al.(2013). Prevalence of mental disorders and mental health problems: Results from Thai national mental health survey 2013[online]. [cited 6 April 2020]; Available from: URL: https://www.dmh.go.th/ebook/files/prevalence_of_M_disorder_MH_problems_TNMHS2013.pdf
Ngamjarus, C., Chongsuvivatwong, V., McNeil, E. (2016). n4Studies: Sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Medical Journal, 68(3), 160-170.
Oei, T. P., Sawang, S., Goh, Y. W., & Mukhtar, F. (2013). Using the depression anxiety stress scale 21 (DASS-21) across cultures. International Journal of Psychology, 48(6), 1018-1029.
Wayne,W.D. (1995). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th ed.). New York: John Wiley&Sons, Inc.
World Health Organization. (2020a). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [online]. [cited 2 April 2020]; Available from: URL: https://www.euro.who.int/en/health-topics/health-emergencies/coronavirus-covid-19/novel-coronavirus-2019-ncov
World Health Organization. (2020). Mental health and psychosocial considerations during the COVID-19 outbreak [online]. [cited 2 April 2020]; Available from: URL: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/mental-health-considerations.pdf