การพยาบาลผู้ป่วยซิฟิลิสที่เกิดปฏิกิริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ จากการใช้ยาเบนซาทีน เพนนิซิลลิน จี: กรณีศึกษาในคลินิกพิเศษกามโรค สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัชณี สมุทรอาลัย พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) คลินิกพิเศษกามโรค วัณโรค เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • ฐิติพันธ์ อัครเสรีนนท์ พ.บ. คลินิกพิเศษกามโรค วัณโรค เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปฏิกิริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์, ซิฟิลิส, เบนซาทีน เพนนิซิลลิน จี, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอกรณีศึกษาการพยาบาล การรักษาและอาการทางคลินิกของผู้ป่วยซิฟิลิสที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดเบนซาทีน เพนนิซิลลิน จี และเกิดปฏิกิริยาจาริช- เฮิกซัยเมอร์ ในผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคซิฟิลิส ระยะที่ 2 โดยผู้ป่วยเป็นชายไทย อายุ 24 ปี มีประวัติรักร่วมเพศ มาพบแพทย์ด้วยอาการผื่นบริเวณลาตัว และแขนทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับพบผลตรวจเลือดเป็นบวกจากการตรวจเลือดหาการติดเชื้อซิฟิลิส แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคซิฟิลิส ระยะที่ 2 ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดเบนซาทีน เพนนิซิลลิน จี 2.4 ล้านยูนิต ตามมาตรฐานการรักษาโรคซิฟิลิส หลังฉีดยา 6 ชั่วโมง มีอาการไข้ ผื่นแดงทั่วตัว ไม่คัน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปฏิกิริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ (Jarisch-Herxheimer Reaction) ได้รับการพยาบาลโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานโดยการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 30 นาทีหลังจากฉีดยา ดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังได้รับยา และให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อลดความวิตกกังวล รวมถึงให้ข้อมูลเรื่องอาการแพ้ยาเพนนิซิลลินและการเกิดปฏิกิริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ก่อนได้รับการรักษา อันนาไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และลดความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วยได้

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจาปี 2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=11298

งานคลินิกพิเศษกามโรค วัณโรค เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. (2563). รายงานการปฏิบัติงานป้องกันควบคุม/ดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แบบ ก1 ปีงบประมาณ 2561-2563.

นิสิต คงเกริกเกียรติ และนพดล ไพบูลย์สิน. (2558). ซิฟิลิส Syphilis. ใน: นิสิต คงเกริกเกียรติ, รสพร กิตติเยาวมาลย์ และเอกชัย แดงสะอาด, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ (ประเทศไทย). 14-21.

วรรณดา ไล้สวน. (ม.ป.ป.). “อาการแพ้ยา”ควรสังเกตอย่างไร [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/th/infographics/196

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). Sexually Transmitted Disease Surveillance 2019 [Online]. [cited 27 November 2021]; Available from: URL: https://www.cdc.gov/std/statistics/2019/overview.htm#Syphilis

Centers for Disease Control and Prevention. (2021). Is it Really a Pennicillin Allergy? [Online]. [cited 22 March 2021]; Available from: URL: https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/pdfs/penicillin-factsheet.pdf

Morse, S. A., Holmes, K. K., Ballard, R. C., & Moreland, A. A. (2010). Atlas of Sexually Transmitted Diseases and AIDS. 4th ed. Amsterdam: Elsevier.

Workowski, K. A., & Bolan, G. A. (2015). Sexually transmitted diseases treatment guidelines, 2015. Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR), 64(3), 34-51. [cited 22 March 2021]; Available from: URL: https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr6403a1.htm

World Health Organization. (2016). WHO guidelines for the treatment of Treponema pallidum (syphilis) [Online]. [cited 22 March 2021]; Available from: URL: http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/249572/9789241549806-eng.pdf?sequence=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30