ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการบำบัดรักษาครบตามเกณฑ์ของผู้ป่วยยาเสพติดในจังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ชลอวัฒน์ อินปา พ.บ., ว.ว. จิตเวชศาสตร์, อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน, อ.ว. จิตเวชศาสตร์การเสพติด โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
  • พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ พ.บ., น.บ., รป.ม., ส.ด., อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก, อ.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, การบำบัดรักษาครบตามเกณฑ์, ผู้ป่วยยาเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการบำบัดรักษาครบตามเกณฑ์ของผู้ป่วยยาเสพติดในจังหวัดตาก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยยาเสพติดในจังหวัดตากที่เข้ารับการบำบัดรักษา ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,293 ราย เก็บข้อมูลจากระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Chi-square test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการบำบัดรักษาครบตามเกณฑ์ของผู้ป่วยยาเสพติด ได้แก่ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 2 ตัวแปร คือ สถานภาพสมรส (ORadj=4.26; 95%CI:1.34-8.02) ยาเสพติดหลักที่ใช้เสพ ได้แก่ ยาบ้า/เฮโรอีน/ ไอซ์/เมทาโดน (ORadj=8.18; 95%CI: 2.09-32.06) (2) ปัจจัยด้านการบำบัดรักษา จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ความสมัครใจ (ORadj=2.43; 95%CI:1.14-11.26) วิธีการรักษาด้วยเมทาโดน (ORadj=5.08; 95%CI:1.95-13.24) และ (3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม จำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ยอมรับและช่วยเหลือ (ORadj=1.02; 95%CI:1.23-2.26) ทั้งนี้การบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดเป็นการดูแลรักษาที่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุข สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรทบทวนและพิจารณาให้ความสำคัญถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาครบตามเกณฑ์ ตลอดจนช่วยลดผู้ป่วยยาเสพติดรายใหม่และการกลับมาเสพยาเสพติดซ้ำอีกด้วย

References

กระทรวงยุติธรรม. (2561). ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ. ฉบับที่ 108/2557 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.moj.go.th/view/50143

กัลยาณี สุเวทเวทิน, สัมมนา มูลสาร และธีราพร สุภาพันธุ์. (2561). สภาพการณ์การบำบัดผู้เสพเมทแอมเฟตามีนด้วยระบบสมัครใจบำบัดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6), 580-588.

ธนิตา หิรัญเทพ, อุมาพร อุดมทรัพยากุล และรณชัย คงสกนธ์. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(2), 157-164.

บพิธ สนั่นเอื้อ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่ครบกระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติดกรณีศึกษา: ผู้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบบังคับบำบัดด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/postdoc/20171016143 538.pdf

ไพพรรณ พิทยานนท์, กัลยา ชาพวง, กัลยา ธรรมคุณ และคณะ. (2544). การติดตามผู้ป่วยเสพติดผงขาวภายหลังการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 15(1), 43-54.

วนิดา รัตนสุมาวงศ์, รัศมน กัลยาณศิริ และพิชัย แสงชาญชัย. (2561). ทฤษฎีของพฤติกรรมเสพติดและข้อ ถกเถียงที่มีในปัจจุบัน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(3), 295-306.

ศุภฤกษ์ นาคดิลก. (2563). อุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนซ้ำในสถาบันบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) วารสารวิชาการเสพติด, 6(1), 47-58.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดที่บำบัดรักษา จังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://antidrugnew.moph.go.th/ONCBReports

สมพร สุวรรณมาโจ, ดวงใจ ดวงฤทธิ์, ณัฎฐณิชา คมกล้า, วราพร พัฒนะโชติ และอุไรวรรณ สถาพร. (2562). ปัจจัยทำนายในการคงอยู่ในระบบระยะเวลา 1 ปี ของผู้บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวในคลินิกเมทา โดน ณ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. วารสารกรมการแพทย์, 44(4), 119-124.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ. (2560). รายงานสำรวจพืชเสพติดในประเทศไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.oncb.go.th/ncsmi/doc3/รายงานพืชเสพติดรวม5051.pdf

สำเนา นิลบรรพ์ และรัตนา ดีปัญญา. (2556). กระบวนการเสพติด ผลกระทบต่อสุขภาพและครอบครัวของผู้เสพไอซ์. วารสารวิชาการเสพติด, 1(1), 15-31.

อารี สุภาวงศ์. (2559). ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบ ประยุกต์ โรงพยาบาลทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(พิเศษ), 160-170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป