การพัฒนาเครือข่ายในการเฝ้าระวังเหตุการณ์และควบคุมโรคระบาดในชุมชนต่างด้าว

ผู้แต่ง

  • ปภานิจ สวงโท วท.ม. (จุลชีววิทยา), ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ส.ด. (วิทยาการระบาด) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สหภาพ พูลเกษร ค.ม. (บริหารการศึกษา) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สมคิด ไกรพัฒนพงศ์ วท.ม. (วิทยาการระบาด) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

เครือข่ายการเฝ้าระวังโรค, การเฝ้าระวังเหตุการณ์, ชุมชนต่างด้าว, อาสาสมัครต่างด้าว

บทคัดย่อ

การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านนับเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่มีโอกาสแพร่โรคมาสู่คนไทยได้ ด้วยข้อจำกัดในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคในชุมชนต่างด้าว จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังเหตุการณ์และควบคุมโรคระบาดในชุมชนต่างด้าว ในปี พ.ศ. 2558-2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังโรค และพัฒนาศักยภาพแรงงานต่างด้าวในชุมชนให้สามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์และแจ้งข่าวเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ เพิ่มการสื่อสารระหว่างแรงงานต่างด้าวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำไปสู่การป้องกันและควบคุมโรคที่รวดเร็ว การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี สระแก้ว และเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมเป็นอาสาสมัครต่างด้าว จำนวน 124 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) คู่มือที่จัดพิมพ์เป็น 5 ภาษา 2) พัฒนาโปรแกรมรายงานโรค 3) หลักสูตรและอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) การถอดบทเรียนและตลาดนัดความรู้ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการอบรมอาสาสมัครต่างด้าวมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 73 เป็นร้อยละ 87 จากการพัฒนาระบบเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคระบาดในชุมชนต่างด้าว ในช่วงแรกไม่มีรายงานเหตุการณ์ผิดปกติ หลังจากการดำเนินงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องแบบมีส่วนร่วมและติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด ทำให้มีการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติ 24 เหตุการณ์ รวมทั้งการใช้คู่มือประกอบช่วยเพิ่มความเข้าใจและช่วยทบทวนความรู้การดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันได้ การใช้โปรแกรมการรายงานเหตุการณ์ผิดปกติสามารถแจ้งเครือข่ายในพื้นที่ได้รวดเร็ว และมีการสื่อสารติดตามการดำเนินงานตั้งแต่ระดับส่วนกลางถึงระดับพื้นที่ ทำให้เครือข่ายเฝ้าระวังมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดโครงการสามารถนำเครื่องมือและรูปแบบการดำเนินงานไปขยายผลโดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนอื่นๆ ได้ต่อไป

References

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. (2554). ประชากรต่างด้าวกับโรคติดต่อที่สำคัญ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 42(2), 22-23.

เฉิด สารเรือน และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2558). การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวก่อนก้าวสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 123-136.

ธีราภรณ์ เมฆอรุณ, บงกชมาศ พิมพ์สิน, จินตนา กาญจนบัตร, วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล, อภิชาติ ภะวัง และอลงกรณ์ เจริญธนวุฒิ. (2559). ผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังโรคไข้หวัดสัตว์ปีกในพื้นที่ชายแดนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 2559, 47(41), 641-648.

ปภานิจ สวงโท. (2556). การระบาดของโรคไข้เลือดออกในศูนย์พักพิงชายแดนไทย–เมียนมาร์ วันที่ 1มกราคม–16 กรกฎาคม 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 44(29), 451-453.

ปาจรีย์ อารีย์รบ, วิศนุกรณ์ บางตุ้ม, สุริยะ คูหะรัตน์ และคณะ. (2552). การสอบสวนและการควบคุมการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ชายแดนไทย–พม่า และอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เดือนมิถุนายน - กันยายน 2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 42, S33-S39.

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2558). หลักสูตรอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. (2559). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2559]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/bffed5aa51e476913584c037b48a3243.pdf

สำนักระบาดวิทยา. (2558). รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังโรคในชาวต่างชาติ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อมรรัตน์ ชอบกตัญญู และอาทิชา วงศ์คำมา. (2552). สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและอหิวาตกโรค ประเทศไทย พ.ศ. 2552. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 40(42), 701-703.

อรพิรุฬห์ สการะเศรณี, อภิชิต สถาวรวิวรรถ, ณัฐปรางค์ นิตยสุทธิ์, พัชรา เกิดแสงและพจมาน ศิริอารยาภรณ์.(2559). การสอบสวนการระบาดของโรคคอตีบในเด็กต่างด้าวในที่พักอาศัยคนงานก่อสร้าง ก.ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 22 กรกฎาคม-9 สิงหาคม 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(31), 481-489.

World Health Organization. (2010). Health of migrants: the way forward: report of a global consultation, Madrid, Spain, 3-5 March 2010 [online]. [cited 20October2017]; Available from: URL: https://apps.who.int/iris/handle/10665/44336

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป