ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์
คำสำคัญ:
อาการเจ็บป่วย, โรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ, การป้องกันโรค, ปัจจัยเสี่ยง, ชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ประชากรที่อาศัยในชุมชนเหนือเขื่อนสิริกิติ์ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.73 อายุเฉลี่ย 49.91 ปี (S.D.=15.52) จบการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 74.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (มัธยฐาน) 1,000.00 บาท อยู่ระหว่างไม่มีรายได้ถึง 27,500 บาท เคยมีประวัติอาการเจ็บป่วยของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ ร้อยละ 55.69 ด้านแหล่งน้ำบริโภค พบว่า เกือบทั้งหมดใช้แหล่งน้ำดื่มมาจากน้ำประปาภูเขา ร้อยละ 98.82 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 58.82 ส่วนทัศนคติในการป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่ออยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 54.90 และพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 50.59 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคว์สแควร์พบว่า อายุ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.017 และ 0.049 ตามลำดับ) และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกเชิงพหุพบว่า กลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยของโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ 1.97 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (Adjusted OR=1.97, 95%CI=1.12-3.47) ซึ่งผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการน้ำบริโภคในชุมชน และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อของประชาชน
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). คู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ปี 2560-2564. [สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://rdic.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/154/2017/07/bManualBook_BMN60.pdf
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2557). วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จิรณัฐ ชัยชนะ และกัญญดา ประจุศิลป. (2561). การศึกษาบทบาทพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (ฉบับพิเศษ), 193-202. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/164695/119359/
ชัยวรรธน์ ประดิษฐ์ทองงาม. (2562). โรคและภัยหน้าร้อน: โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-388
ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน. (2554). กินถูกหลักป้องกันโรคพยาธิได้ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=19
นพพร ศรีผัด, ประภัสสร สุวรรณบงกช, ขนิษฐา พานทองรักษ์, เมตตา คำอินทร์ และวัลยา โสภากุล. (2563). การสร้างทีมสุขภาพท้องถิ่นพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเพื่อจัดทำแผนงานด้านสุขภาพแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(2), 47-60. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/244773/168710
ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์, ฉัตรชัย ยาจันทร์ทา, ทศพล ศศิวงศ์ภักดี, ชาญชัย บุญหล้า และเกรียง ตั้งสง่า. (2549). โรคนิ่วไต: พยาธิสรีระวิทยา การรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 50(2), 103-123. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://clmjournal.org/_fileupload/journal/189-4-5.pdf
พรรณี ปานเทวัญ. (2562). บทบาทพยาบาลและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารพยาบาลทหารบก. 20(2), 33-43. [สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/210360/145600
มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์. (2542). วิศวกรรมการประปา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑิรา มฤคทัต. (2545). นิ่วทางเดินปัสสาวะ. สงขลา: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรวัฒน์ ชุมสาย ณ อยุธยา, สุพจน์ วุฒิการณ์, ธนู พลอยเสื่อมแสง, สมัคร อนุตระกูลชัย และสุริธร สุนทรพันธ์. (2530). แนวโน้มของอุบัติการณ์ของนิ่วทางเดินปัสสาวะ ในช่วง 3 ทศวรรษ ณ โรงพยาบาลเชียงใหม่.การสัมมนาแห่งชาติเรื่องนิ่วทางเดินปัสสาวะและ renal tubular acidosis ครั้งที่ 1; วันที่ 14-15 ธันวาคม 2530; ขอนแก่นโฮเต็ล จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : เมดิคัล มีเดีย.
วิฑูรย์ ประสงค์วัฒนา และพจน์ ศรีบุญลือ. (2543). ระบาดวิทยาของโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ. ใน : พจน์ ศรีบุญลือ, ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์, วิฑูรย์ ประสงค์วัฒนา, เกรียง ตั้งสง่า,บรรณาธิการ. โรคนิ่วไต. ขอนแก่น :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่ม. (2556). คู่มือประชาชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Bloom, B.S. (1971). Mastery learning. In J.H. Block (Ed.), Mastery learning, theory and practice. New York: Holt, Rinehart, and Winston.
Luo, H., Turner, L. R., Hurst, C., Mai, H., Zhang, Y., & Tong, S. (2014). Exposure to ambient heat and urolithiasis among outdoor workers in Guangzhou, China. Science of the total environment, 472, 1130-1136.
Tanthanuch, M., Apiwatgaroon, A., & Pripatnanont C. (2005). Urinary Tract Calculi in Southern Thailand. J Med Assoc Thai, 88(1), 80-85. [cited 8 December 2021]; Available from: URL: https://www.researchgate.net/profile/Choosak-Pripatnanont/publication/7783504_Urinary_tract_calculi_in_Southern_Thailand/links/0deec52be3ff66866c000000/Urinary-tract-calculi-in-Southern-Thailand.pdf
UNICEF. (2014). World Water Day, World's poorest have least access to safe water: UNICEF. [cited 1 May 2020]; Available from: URL: https://www.unicef.org/turkey/en/press-releases/world-water-day-worlds-poorest-have-least-access-safe-water-unicef
Wayne, W.D. (2013). BIOSTATISTICS: A Foundation for Analysis in The Health Sciences. 10th ed. Las Vegas: Edwards Brothers Molloy.
Zarasvandi, A., Carranza, E. J. M., Heidari, M., & Mousapour, E. (2014). Environmental factors of urinary stones mineralogy, Khouzestan Province, Iran. Journal of African Earth Sciences, 97, 368-376.