ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2562 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.00 อายุระหว่าง 46–59 ปี ร้อยละ 70.00 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 38.00 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 68.00 ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และคะแนนเฉลี่ยด้านทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหลังการทดลองโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับจัดกิจกรรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนเกี่ยวกับการรับรู้ทัศนคติแห่งตน และการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนต่อไป
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ดุษณี บุญพิทักษ์สกุล, ศิริภัททรา จุฑามณี และอรพิชา เกตุพันธ์. (2564). การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านสุขภาพจิต. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(4), 99-110.
นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์ และสุเทพ เชาวลิต. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 768-779.
ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, สายสุดา จันหัวนา, วชิรศักดิ์ อภิพัฒฐ์กานต์, ธรณิศ สายวัฒน์ และอมรรัตน์ อัครเศรษสกุล. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 109-120.
ภาวิณี พรหมบุตร, เอื้อจิต สุขพูล, กิตติภูมิ ภิญโย และปิยนุช ภิญโย. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนของจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้), วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 113-128.
มินตรา สาระรักษ์. (2553). การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 39-48.
วรัญญา จิตรบรรทัด, ธมลวรรณ แก้วกระจก และพิมพวรรณ เรืองพุทธ. (2560) ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และความพึงพอใจของผู้สูงอายุ ในตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(1), 5-16.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2561). สถิติผู้สูงอายุ อำเภอจุน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: https://pyo.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
สุดา คำสุชาติ. (2560). ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 26(6), 1156-1164.
Bandura, A. (1997). Social learning theory. New Jersey: Prentice hall Inc.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
World Health Organization. (2015). Health in 2015: from MDGs, Millennium Development Goals to SDGs, Sustainable Development Goals. Geneva Swizerland: World Health Organization.