ทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, ความตั้งใจ, พฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 และตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 307 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติในการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับมากร้อยละ 96.42 ความตั้งใจในการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 99.67 พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับดีร้อยละ 99.67 ทัศนคติและความตั้งใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 (r=0.31 และ 0.36 ตามลำดับ, p-value=0.000) และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 97.60 (R2=0.976) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 มากที่สุด คือ ตัวแปรความตั้งใจ (ß=0.72, p-value=0.000) ดังนั้นควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้พยาบาลมีความตั้งใจในการป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 เพิ่มขึ้น เช่น การตรวจสอบตนเอง การสังเกตพฤติกรรมของตนเอง และบันทึกพฤติกรรมตนเองอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ตนเอง การประเมินตนเองหรือการให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นต้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวโน้มผู้ติดเชื้อ ตามกลุ่มเสี่ยงต่างๆ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=select-trend-type
ฐิติวดี ธรรมเจริญ, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2562). ทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการป้องกันการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 46(3), 14-24.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.
ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.
ธวัชชัย ยืนยาว และเพ็ญนภา บุญเสริม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 555-564.
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทัศน์, 3(2), 1-14.
สมบัติ พรหมณี. (2565). ความรู้ เจตคติและพฤติกรรม ตามแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของพนักงานส่งอาหาร ในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครนายก. 2(1), 1-15.
สุกัญญา ชิตวิลัย. (2556). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดราชบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. [สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/10727
Ahmad, M., Iram, K., & Jabeen, G. (2020). Perception-based influence factors of intention to adopt COVID-19 epidemic prevention in China. Environmental research, 190, 1-9.
Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In Action control (pp. 11-39). Springer, Berlin, Heidelberg.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (2005). The influence of attitudes on behavior.
Bashirian, S., Jenabi, E., Khazaei, S. et al. (2020). Factors associated with preventive behaviours of COVID-19 among hospital staff in Iran in 2020: an application of the Protection Motivation Theory. Journal of Hospital Infection, 105(3), 430-433.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Djamaluddin, N., Anwar, A. I., Pasiga, B., Samad, R., Pratiwi, R., & Homans, R. V. D. L. (2021). Assessment of Knowledge, Attitudes and Practice of Preclinical Students of The Faculty of Dentistry of Hasanuddin University About Covid-19 During The Pandemic Period. Journal of Dental Medical Public Health, 1(1), 34-47.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Mehta, S., Machado, F., Kwizera, A. et al. (2021). COVID-19: a heavy toll on health-care workers. The Lancet Respiratory Medicine, 9(3), 226-228.
Park, S., & Oh, S. (2022). Factors associated with preventive behaviors for COVID-19 among adolescents in South Korea. Journal of pediatric nursing, 62, e69-e76.
Rabi, R., Maraqa, B., Nazzal, Z., & Zink, T. (2021). Factors affecting nurses' intention to accept the COVID‐19 vaccine: A cross-sectional study. Public Health Nursing, 38(5), 781-788.
Rakotoarisoa, F. M., Praptapa, A., Suyono, E., & Usuman, I. (2021). Factors influencing preventive intention behavior towards COVID-19 in Indonesia. The Journal of Behavioral Science, 16(1), 14-27.
Saqlain, M., Munir, M. M., Rehman, S. U. et al. (2020). Knowledge, attitude, practice and perceived barriers among healthcare workers regarding COVID-19: a cross-sectional survey from Pakistan. Journal of Hospital infection, 105(3), 419-423.
Smith, G. D., Ng, F., & Li, W. H. C. (2020). COVID-19: Emerging compassion, courage and resilience in the face of misinformation and adversity. Journal of clinical nursing, 29(9-10), 1425-1428.
Triandis, H. C. (1971). Attitude and Attitude Change. Wiley Foundations of Social Psychology Series.
World Health Organization. (2022). WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [online]. [cited 24 November 2021]; Available from: URL: https://covid19.who.int/