ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, มะเร็งเต้านม, การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, สตรีวัยเจริญพันธุ์บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัดลำปาง จานวน 439 คน โดยวิธีการสุ่มตามความสะดวก ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 40-49 ปี มากที่สุด ร้อยละ 36.90 สถานภาพคู่ ร้อยละ 56.72 จบการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี ร้อยละ 67.20 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 32.35 รายได้เพียงพอแต่ไม่มีเงินเก็บ ร้อยละ 46.92 ไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 97.49 ไม่เคยดื่มสุราในช่วง 6 เดือนย้อนหลัง ร้อยละ 79.27 ไม่มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ร้อยละ 94.99 และไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 57.18 สาหรับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม พบว่า การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะการจัดการตนเอง มีคะแนนอยู่ในระดับสูง ส่วนทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ และการรู้เท่าทันสื่อ มีคะแนนอยู่ในระดับ ปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ดังนั้นควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในเรื่องการสื่อสาร การตัดสินใจ และการรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องในสตรีวัยเจริญพันธุ์ต่อไป
References
กองบริหารการสาธารณสุข สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความ รอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
จิรภา จงจามรีสีทอง. (2548). ความรู้ ทัศนคติ และการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อตรวจกรองมะเร็งเต้านมของสตรีที่ใช้แรงงานในโรงงานเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการเจริญพันธุ์และวางแผนประชากร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุบล จันทร์เพชร, จุฑารัตน์ สะธรรมกิจ, ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์. (2558). พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของสตรีไทยอายุ 30-70 ปี ในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 5. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 38(3), 56-72.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
วีรวุฒิ อิ่มสาราญ, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, สมชาย ธนะสิทธิชัย และคณะ. (2554). การแพทย์ไทย 2554-2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: กรมการแพทย์.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2560). ข้อเสนอแนะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เหมาะสมสาหรับประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฆสิตการพิมพ์ จำกัด.
สังคม ศุภรัตนกุล. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชา ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติขั้นสูง (Advance Research Methodology and Statistics) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. แหล่งข้อมูล: URL: http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/173y8x2uyh3x6y391G4e.pdf
สิรินุช บูรณะเรืองโรจน์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีไทย เขตอาเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(1), 279-294.
สานักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2562). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามเพศ และหมวดอายุ เป็นรายอำเภอ พ.ศ.2562. (เอกสารอัดสำเนา).
อนงนาฏ เรืองดำ และพัชรภรณ์ ทองวัชระ. (2554). สภาวะทางด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยมะเร็ง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563]. แหล่งข้อมูล: URL: http://hocc.medicine.psu.ac.th/files/khowledge/8august2011.pdf
Okobia, M. N., Bunker, C. H., Okonofua, F. E., & Osime, U. (2006). Knowledge, attitude and practice of Nigerian women towards breast cancer: A cross-sectional study. World Journal of Surgical Oncology, 4(1), 1-9.