ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • วลัยพร กาฬภักดี ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • กันธิมา ศรีหมากสุก พย.ม. (เวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์), พย.ม. (เวชปฏิบัติชุมชน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นักเรียนประถมศึกษา, ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 155 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2564 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมากที่สุด ร้อยละ 67.70 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.71 เมื่อวิเคราะห์แยกรายด้าน พบว่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.61 ในขณะที่ทักษะการจัดการตนเอง และทักษะการตัดสินใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.45 และ 47.10 ตามลำดับ ส่วนการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.55, 48.39 และ 58.06 ตามลำดับ ดังนั้นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางในการส่งเสริมความรอบรู้ทางด้านสุขภาพของนักเรียนในประเด็นการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการรู้เท่าทันสื่อเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ส่งผลให้มีการปฏิบัติตัวเพื่อสามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีต่อไป

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน สำหรับเด็กวัยเรียนอายุ 9-14 ปี (นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายกับมัธยมศึกษาตอนต้น) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: URL: http://hed.go.th/linkHed/394

กองแผนงาน กรมอนามัย. (2560). รายงานประจำปี 2559 กรมอนามัย. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จามจุรี แซ่หลู่ และนภาวรรณ วิริยะศิริกุล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 1-15.

ธีรศักดิ์ ศรีพิทักษ์, นิรชร ชูติพัฒนะ และอิสระ ทองสามสี. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.hu.ac.th/conference/conference2019/proceedings2019/FullText/02%20-%20ระดับชาติ%20-%20ภาคโปสเตอร์/G9-He/4-056He-NP%20(ธีรศักดิ์%20ศรีพิทักษ์)%201529-1545.pdf

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, จุภาพร ภิรมย์ไกรภักดิ์ และวิจิตรา นวนันทวงศ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(พิเศษ), 80-90.

ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. (2564). รายงานตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่นรอบ 2 : 5 เดือนหลัง (มีนาคม- กรกฎาคม 2564) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2021/04-5005-20210416091824/b7b71a27c7a5f6e9edaa9fe1a9494b37.pdf

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). สุขภาพคนไทย ปี 2557 : ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ... สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). ‘ภาวะโภชนาการเกิน’ ผลข้างเคียงต่อเด็กในช่วงล็อคดาวน์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL:https://research.eef.or.th/ภาวะโภชนาการเกิน-ผลข้า/

สารภี จันทร์มุณี และสุชาดา นวนทอง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://km.ptho.moph.go.th/upload/2561/71.pdf

สุขสม พรหมสาลี และศรัชฌา กาญจนสิงห์ (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเด็กวัยเรียนเขตสุขภาพที่ 6 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://do6.new.hss.moph.go.th:8080/fileupload_doc/2022-02-28-7-22-4473606.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). องค์การอนามัยโลกแนะเร่งแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article/องค์การอนามัยโลกแนะเร่งแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับกระทรวง ปี 2563. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2565). รายงานผลการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 1.11 ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน สำนักโภชนาการ รอบ 5 เดือนหลัง ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/doc/2564-1.11-2.pdf

อารยา ทิพย์วงศ์ และจารุณี นุ่มพูล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(2), 1-11.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Rojroongwasinkul, N., Kijboonchoo, K., Wimonpeerapattana, W. et al. (2013). SEANUTS: The nutritional status and dietary intakes of 0.5–12-year-old Thai children. British Journal of Nutrition, 110(S3), S36-S44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30