ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ คลินิกหมอครอบครัวตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ภาวะเสี่ยงหกล้มบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวตากสิน มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 387 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก และวัดค่าขนาดของความสัมพันธ์ด้วยค่า OR (Odds Ratio) กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเสี่ยงหกล้ม ร้อยละ 31.78 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงหกล้ม พบว่า เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าเพศชาย 2.31 เท่า (95%CI=1.38-3.94) ผู้สูงอายุที่จบประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่จบการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษา 2.76 เท่า (95%CI=1.73-4.41) ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัว 3.97 เท่า (95%CI=1.90-8.28) ผู้สูงอายุที่รับประทานยาเป็นประจำมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับประทานยาเป็นประจำ 2.73 เท่า (95%CI=1.57-4.75) ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสุขภาพ มีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาภาวะสุขภาพถึง 6.29 เท่า (95%CI=3.61-10.96) การมีอุปกรณ์ช่วยเดินมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าการที่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยเดิน 5.55 เท่า (95%CI=2.95-10.43) และผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านที่บริเวณบันไดมีลักษณะเสี่ยงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านที่บริเวณบันไดไม่มีลักษณะเสี่ยง 5.71 เท่า (95%CI=1.71-19.01) ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในบ้านทีละส่วนเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความเคยชินกับสภาพแวดล้อม ลดโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มต่อไป
References
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1037120200813042821.pdf
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ตารางแสดงจำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม (W00 - W19) ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรแสนคน จำแนกตามเขตสุขภาพและกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2558–2562. [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ย. 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1660320210115094236.pdf
กุมาลีพร ตรีสอน, สัจจวรรณฑ์ พวงศรีเคน, จำรัสลักษณ์ เจริญแสน, ปภัชญา คัชรินทร์, อติญา โพธิ์ศรี และเครือวัลย์ ดิษเจริญ. (2563). ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหกล้มของผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 220-233.
กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อัศวเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ และอรัญญา นามวงศ์. (2563). สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 581-595. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/246299/166826
จารุภา เลขทิพย์, ธีระ วรธนารัตน์, ศักรินทร์ ภูผานิล และศราวุธ ลาภมณีย์. (2562). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 26(1), 85-103.
ชุติมา ชลายนเดชะ. (2557). คัดกรองการล้มด้วย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 26(1), 5-16. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ams/article/download/66343/54301/
ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี และจิตติยา สมบัติบูรณ์. (2559). อุบัติการณ์ของการหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(ฉบับเพิ่มเติม 1), 123-138.
ธิดารัตน์ มิ่งสมร. (2561). ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.thaihealth.or.th/Content/41722-ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ.html
นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุลดา จีนขาวขำ, ชลธิชา บุญศิริ และคณะ. (2560). ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(3), 2492-2506.
พัชรี บอนคำ. (2561). หกล้มในผู้สูงอายุ ปัญหาที่ต้องระวัง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564] แหล่งข้อมูล: URL: https://www.thaihealth.or.th/Content/40404-หกล้มในผู้สูงอายุ%20ปัญหาที่ต้องระวัง.html
เพ็ญพักตร์ หนูผุด, ดุสิต พรหมอ่อน, สมเกียรติยศ วรเดช และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2563). ความชุกของภาวะเสี่ยงล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสี่ยงล้มในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(1), 125-137. [สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/download/241522/164475/
เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง และอุมากร ใจยั่งยืน. (2563). การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 126-141.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ตอนที่ 1 ผู้สูงอายุอายุโลก เอเชียครองแชมป์คนแก่มากที่สุด ขณะที่แอฟริการั้งท้าย ยังอยู่ในสังคมเยาว์วัย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://thaitgri.org/?p=39450
ลิลลี่ ชัยสมพงศ์. (2558). ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2015/health-problems-of-the-older-person
วงศา เล้าหศิริวงศ์. (2560). การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุป้องกันได้ด้วยการประเมินและจัดการความเสี่ยง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thaincd.com/document/file/download/leaflet/แผ่นพับการพลัดตกหกล้ม.pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ตารางแสดงจำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรแสนคน จำแนกรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2554–2560. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.thaincd.com/document/file/info/fall/ตารางแสดงจำนวนและอัตราการเสียชีวิตพลัดตกหกล้มรายจังหวัด(210119).pdf
อรษา ภูเจริญ, อรรถพล รอดแก้ว, จิตศิริน ก้อนคง และรัตนวดี ทองบัวบาน. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology, 3(2), 46-54.