การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กชพร อินทวงศ์ พ.บ., อ.ว.เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคโควิด 19, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

งานควบคุมโรค โรงพยาบาลเชียงดาวได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงดาเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาด บรรยายลักษณะทางระบาดวิทยา อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อของผู้สัมผัส และหาแนวทางควบคุมโรค ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาด้วยการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก กาหนดนิยามผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ผู้ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (PCR) ยืนยันจากห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลนครพิงค์และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ ทั้งที่ไม่มีและ มีอาการแสดงระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม–19 สิงหาคม 2564 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค พบผู้ป่วยตามนิยามจำนวน 27 คน คิดเป็นอัตราป่วย 81.76 ต่อแสนประชากรประชากร ในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเชียงดาว ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือเสียชีวิต อาการที่พบมากที่สุด คือ ไอ ร้อยละ 81.48 และพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่มีการสัมผัสผู้ป่วยหลายครั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น 13.55 เท่า ของกลุ่มเสี่ยงที่มีการสัมผัสผู้ป่วยครั้งเดียว (95%CI=2.57-71.55) กลุ่มที่เสี่ยงสัมผัสจากกิจกรรมทางสังคมมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น 12.39 เท่า ของกลุ่มที่สัมผัสอื่นๆ (สถานที่ทางาน การขนส่งสาธารณะ และตลาด) (95%CI=1.54-99.38) และกลุ่มเสี่ยงที่มีการสัมผัสกับผู้ป่วยหลังจากเริ่มมีอาการแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็น 4.69 เท่า ของกลุ่มเสี่ยงที่มีการสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนเริ่มมีอาการ (95%CI=1.68-13.15) โดยภายหลังจากการดาเนินการควบคุมโรคด้วยการค้นหาผู้ป่วยและติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเพื่อแยกกัก ปิดสถานที่เสี่ยงเป็นเวลา 14 วัน งดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคน เน้นมาตรการ D-M-H-T-T-A ทำให้การแพร่ระบาดในครั้งนี้ยุติลง

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640417114830AM_CPG_COVID-19%20_ns_%2017apr%202021.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ฉบับ 23 มีนาคม 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_250363.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

ธนวดี จันทร์เทียน, ภัทร์ธีนันท์ ทองโสม, ธีรศักดิ์ ชักนําและคณะ. (2563). การสอบสวนการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มพนักงานสถานบันเทิงแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร เดือนเมษายน–พฤษภาคม 2563. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 51(38), 581-588.

พงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง, อุไรวรรณ จันทร์ทอง และศศลักษณ์ เมธารินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชนบ้านบางม่วง ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://data.ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/index_doc.php

วลีรัตน์ หิรัญศิริวรโชติ. (2563). ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของเทศบาลตำบลเขาสมิง จังหวัดตราด [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1629862341_6214832018.pdf

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเฉพาะกิจจังหวัดเชียงใหม่. (2564). สถานการณ์การระบาด COVID-19 จังหวัดเชียงใหม่ 25 กรกฎาคม 2564 ระลอกเดือนเมษายน 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: URL: http://www.chiangmai.go.th/covid19/stat_july.html

Bi, Q., Wu, Y., Mei, S. et al. (2020). Epidemiology and transmission of COVID-19 in 391 cases and 1286 of their close contacts in Shenzhen, China: a retrospective cohort study. The Lancet infectious diseases, 20(8), 911-919.

Cheng, H. Y., Jian, S. W., Liu, D. P., Ng, T. C., Huang, W. T., & Lin, H. H. (2020). Contact tracing assessment of COVID-19 transmission dynamics in Taiwan and risk at different exposure periods before and after symptom onset. JAMA internal medicine, 180(9), 1156-1163.

Jing, Q. L., Liu, M. J., Zhang, Z. B. et al. (2020). Household secondary attack rate of COVID-19 and associated determinants in Guangzhou, China: a retrospective cohort study. The Lancet Infectious Diseases, 20(10), 1141-1150.

Lin, G. T., Zhang, Y. H., Xiao, M. F. et al. (2021). Epidemiological investigation of a COVID-19 family cluster outbreak transmitted by a 3-month-old infant. Health Information Science and Systems, 9(1), 1-10.

Liu, T., Liang, W., Zhong, H. et al. (2020). Risk factors associated with COVID-19 infection: a retrospective cohort study based on contacts tracing. Emerging Microbes & Infections, 9(1), 1546-1553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30