ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เข้ารับการตรวจตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 450 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและอัตราความชุกของโรคโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression กำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ร้อยละ 9.33 (42/450 คน) และพบว่า ผู้ที่มีระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี มีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 4.27 เท่า (95%CI=2.08-8.75) ของผู้ที่มีระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือด Total Cholesterol มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dL มีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 2.28 เท่า (95%CI=1.06-4.90) ของผู้ที่มีระดับไขมันรวมในเลือด น้อยกว่า 200 mg/dL และผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือด LDL มากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dL มีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา 3.17 เท่า (95%CI=1.44-7.01) ของผู้ป่วยที่มีระดับไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำน้อยกว่า 100 mg/dL ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยควรให้ความสำคัญในการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน และมีระดับไขมันในเลือดสูง
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2563 หนุนบทบาทพยาบาลร่วมสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงโรคเบาหวาน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=15591&deptcode=brc&news_views=704
จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์ และธิดารัตน์ อภิญญา. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา. ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชายหาญ รุ่งศิริแสงรัตน์. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(2), 179-188.
ดิเรก ผาติกุลศิลา. (2554). เบาหวานขึ้นจอตา [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://w1.med.cmu.ac.th/eye/index.php?option=com_content&view=article&id=57:2011-12-30-03-09-14&catid=17:knowleadge&Itemid=394
เด่นชัย ตั้งมโนกุล. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจเวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33(3), 225-236.
นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คำเตียม และสุภเลิศ ประคุณหังสิต. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(3), 336-345.
พราวมาศ วิมลธรรม และนิรมลเมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอปักธงชัยจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 93-101.
วรัทพร จันทร์ลลิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 23(2), 36-45.
วลัยพร ยติพูลสุข. (2551). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในจังหวัดแพร่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(เพิ่มเติม 2), SII464-472.
วิชิต ปวรางกูร. (2560). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนันอา กรุงเทพฯ. เชียงรายเวชสาร, 9(2), 73-82.
ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลหางดง. (2563). สถิติการให้บริการโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงพยาบาลหางดง.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2564). HDC: กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM HT CVD) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=d0726b6e82496162f596395050cb6c8c
อนุพจน์ สมภพสกุล, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์, พนม สุขจันทร์ และคณะ. (2555). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(3), 29-43.
Jenchitr, W., Samaiporn, S., Lertmeemongkolchai, P., et al. (2004). Prevalence of Diabetic Retinopathy in relation to duration of Diabetes Mellitus in Community Hospitals of Lampang. Journal of the Medical Association of Thailand, 87(11), 1321-1326.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row.
Yau, J. W., Rogers, S. L., Kawasaki, R., et al. (2012). Global prevalence and major risk factors of diabetic retinopathy. Diabetes Care, 35(3), 556-564.