การเปรียบเทียบต้นทุนการจัดบริการในระบบบริการปฐมภูมิก่อนการระบาดและระหว่างการระบาดโรคโควิด 19 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยหินฝน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ธีรพงษ์ นาทะจันทร์ ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยหินฝน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
  • นภชา สิงห์วีรธรรม ปร.ด. (เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ ศษ.ด. (บริหารการศึกษา) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ต้นทุน, การบริการปฐมภูมิ, โรคโควิด 19, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยวิเคราะห์ต้นทุนจัดบริการในระบบบริการปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการจัดบริการก่อนการระบาดและระหว่างการระบาดโรคโควิด 19 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยหินฝน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการศึกษาต้นทุนรายกิจกรรม ในมุมมองของผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนปีงบประมาณ 2562 และ 2564 เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยหินฝน คำนวนจากค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าครุภัณฑ์ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนการจัดบริการหน่วยต้นทุน นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมของการจัดบริการสาธารณสุขใน รพ.สต. ปี 2564 มีต้นทุน 1,038,327.40 บาท ซึ่งต่างจากปี 2562 ที่มีต้นทุน 821,234.76 บาท โดยปี 2562 และปี 2564 มีสัดส่วนต้นทุนค่าวัสดุมากที่สุด ร้อยละ 45.68 และ 47.24 ตามลำดับ ต้นทุนการจัดบริการการรักษาพยาบาล ปี 2564 มีต้นทุน เท่ากับ 138.58 บาทต่อครั้ง ซึ่งมีค่าสูงกว่า ปี 2562 มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 99.28 บาท และในปี พ.ศ. 2564 ต้นทุนการจัดบริการเพื่อควบคุมและป้องกันโรคโควิด 19 ร้อยละ 16.27 และต้นทุนกิจกรรมการสอบสวนโรคมีต้นทุนสูงสุด 582.63 บาทต่อราย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการด่านหน้าของระบบบริการสุขภาพ ที่ควรมีการเตรียมงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 และรองรับโรคอุบัติใหม่

References

กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข

กรมบัญชีกลาง. (2557). แนวทางการคำนวณต้นทุนผลผลิตของงานบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ

กรมบัญชีกลาง. (2562). คู่มือการบัญชีภาครัฐ เรื่องที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 2562. กรุงเทพมหานคร:กรมบัญชีกลาง.

กลุ่มงานประกันสุขภาพ. (2556). คู่มือการศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

กองบริหารงานสาธารณสุข. (2563). การดำเนินการจัดบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ (New Normal Medical Service). สมุทรสาคร: บอร์นทูบี พับลิชชิ่ง.

ตวงรัตน์ โพธะ, วิน เตชะเคหะกิจ, นภชา สิงห์วีรธรรม, เกศนภา ถาวร และอรวิภา โรจนาธิโมกข์. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนและรูปแบบการจัดบริการการแพทย์วิถีใหม่. นนทบุรี: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ.

นภชา สิงห์วีรธรรม, ธนิดา ขุนบุญจันทร์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ปพนพัทธ์ อธิษฐ์ดิษฐ์ และมนัสวี อดุลยรัตน์. (2564). ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านการแพทย์แผนไทย ในสถานบริการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(3), 89-107.

นฤพร ชูเสน, นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ตวงรัตน์ โพธะ และอำพล บุญเพียร. (2565). ต้นทุนและผลกระทบทางการเงินของจดับริการทันตสาธารณสุขในสถานบริการก่อนการระบาดและระหว่างการระบาดโรคโควิด 19 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 16(1), 76-87.

นิรมล ลีลาอดิศร. (2564). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่องานทันตกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(S3), S404-S413.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓. (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง, หน้า 1.

พินิจ ฟ้าอำนวยผล. (2564). การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ฟ้าใส จันท์จารุภรณ์, อาทร ริ้วไพบูลย์, นภชา สิงห์วีรธรรม, อำพล บุญเพียร, ประพฤทธิ์ สวัสดิ์วิภาชัย และธนิดา ขุนบุญจันทร์. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมของงานบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้านการแพทย์แผนไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 8(1), 11-26.

สถาบันบำราศนราดูร. (2560). คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศในสถานพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอน์ดีไซน์.

สมคิด แก้วสนธิ และภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2536). เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข: การวิเคราะห์และประเมินผลบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). จดหมายเหตุ COVID-19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤติ (ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2563). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อาทร ริ้วไพบูลย์, อรทัย เขียวเจริญ, ปิยนุช บัตรสูงเนิน, นภชา สิงห์วีรธรรม, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน และวิน เตชะเคหะกิจ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาทร ริ้วไพบูลย์. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนในการพัฒนาระบบสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: ศักดิโสภาการพิมพ์.

Lum, B. X., Liu, E. H., Archuleta, S. et al. (2021). Establishing a new normal for hospital care: a whole of hospital approach to coronavirus disease 2019 (COVID-19). Clinical Infectious Diseases, 73(9), e3136-e3143.

Morens, D. M., & Fauci, A. S. (2013). Emerging infectious diseases: threats to human health and global stability. PLOS Pathogens, 9(7), 1-3.

Singh, H., Maurya, R. K., Sharma, P., Kapoor, P., & Mittal, T. (2021). Aerosol generating procedural risks and concomitant mitigation strategies in orthodontics amid COVID-19 pandemic–An updated evidence-based review. International Orthodontics, 19(3), 329-345.

World Health Organization. (2020a). Coronavirus disease (COVID-19) [online]. [cited 2020 April 30]; Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1

World Health Organization. (2020b). Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV) [online]. [cited 2020 May 7]; Available from: https://www.who.int/news-room/detail/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting-of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

Zhou, J., Cao, Z., Wang, W. et al. (2020). First patient management of COVID-19 in Changsha, China: a case report. BMC Infectious Diseases, 20(1), 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27