ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ศรีทองพิมพ์ ป.พย. (พยาบาลศาสตร์) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รังสิยา นารินทร์ ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน ศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) คู่มือและสื่อ 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 4) แบบประเมินการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยนี้ใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมศักยภาพในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เพื่อการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและส่งผลต่อการปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รายวัน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานและพฤติกรรมการป้องกันโรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: http://www.hed.go.th/linkHed/index/315

รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ และกมลพร แพทย์ชีพ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 250-262.

รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกูล และศศิธร รุจนเวช. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์นาวี, 45(3), 509-526.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2564). รายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มงานโรคไม่ติดต่อ ประจำปี 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 270-279.

Burns, N. & Grove, S. K. (2009). The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence. 6th ed. St Louis: Missouri.

Kluge, H. H. P., Wickramasinghe, K., Rippin, H. L. et al. (2020). Prevention and control of non-communicable diseases in the COVID-19 response. The Lancet, 395(10238), 1678-1680.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy [online]. [cited 2021 June 8]; Available from: https://www.semanticscholar.org/paper/The-evolving-concept-of-health-literacy-q-Nutbeam/67addc0e498d330bc75c949a72881d4490e3d3bd?p2df

World Health Organization. (2020a). Information note on COVID-19 and NCDs [online]. [cited 2021 February 5]; Available from: https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-and-ncds

World Health Organization. (2020b). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [online]. [cited 2022 April 30]; Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27