บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19: กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
บทบาท, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคโควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทตามความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ในจังหวัดลำปาง จำนวน 392 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังด้านการป้องกันโรคมากที่สุด ในบทบาทตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 87.20 คาดหวังด้านมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากที่สุด ในบทบาทของ อสม. 4.0 ร้อยละ 91.40 และคาดหวังด้านการควบคุมโรคเชิงรุกมากที่สุด ในบทบาทที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ร้อยละ 90.20 และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังสูงกว่าการปฏิบัติจริงตามบทบาทของ อสม. ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านการรักษา พยาบาล ด้านการฟื้นฟูสภาพ ด้านการจัดการและประสานงานในชุมชน และด้านการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) กล่าวได้ว่า การปฏิบัติงานของ อสม. ในชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดการในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ อสม. มีกำลังใจที่เข้มแข็งในการปฏิบัติงาน และเอื้ออำนวยความสะดวกด้านทรัพยากรในการทำงานที่เหมาะสมและเพียงพอ
References
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดือนกรกฎาคม 2565. (เอกสารอัดสำเนา).
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สานฝัน อสม. 3 พันคนได้สิทธิ์อบรม “ผู้ช่วยพยาบาล” ฟรี! พร้อมเปิดเกณฑ์ให้แต่ละเขตสุขภาพคัดเลือก [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2022/03/24681
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92-103.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง และคณะ. (2564). การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5427
ณฐนนท บริสุทธิ์. (2563). การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม. ในยุคประเทศไทย 4.0 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/the_study_of_situation_and_village_health_volunteer_development_2.pdf
ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม และนิภา มหารัชพงศ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1), 257-272.
นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์ และสุเทพ เชาวลิต. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 768-779.
เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 44-58. [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/SSRUJPD/article/view/250988
วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 304-318. [สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247844/169264
ศุภัคชญา ภวังคะรัต, สมภพ อาจชนะศึก และปิยะณัฐ นามชู. (2563). การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)_A_Study_of_COVID-19_Surveillance,_Prevention_and_Control_in_Communities_(1)_dec_jan_21.pdf
สหัทยา ถึงรัตน์. (2556). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
สิทธิพร เกษจ้อย. (2560). บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 163-174.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2563). รายงานการดำเนินงาน อสม. จังหวัดลำปาง ปี 2563. (เอกสารอัดสำเนา).
Tejativaddhana, P., Suriyawongpaisal, W., Kasemsup, V., & Suksaroj, T. (2020). The Roles of Village Health Volunteers: COVID-19 Prevention and Control in Thailand. Asia Pacific Journal of Health Management, 15(3), 18-22.
Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.