การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์เดลตาลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในชาวไทยภูเขา อำเภอสอง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • จิรายุทร์ พุทธรักษา พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว, อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) โรงพยาบาลสอง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การระบาดลักษณะเป็นกลุ่มก้อน

บทคัดย่อ

ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค โรงพยาบาลสอง จังหวัดแพร่ ได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชาวไทยภูเขา หมู่บ้านแม่แรม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จึงดำเนินการสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาด บรรยายลักษณะทางระบาดวิทยา และหาแนวทางควบคุมโรค ซึ่งมีนิยามผู้ป่วย คือ ผู้ที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-PCR แล้วพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในช่วงวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 พบผู้ป่วยตามนิยามจำนวน 51 ราย อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 15.22 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเป็น 1.68 : 1 มัธยฐานของอายุเท่ากับ 33 ปี ลักษณะเส้นโค้งทางระบาดวิทยาเป็นแบบแพร่กระจาย มีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 4 วัน อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ ไอ ร้อยละ 43.14 น้ำมูก ร้อยละ 31.37 ไข้ ร้อยละ 25.49 เจ็บคอ ร้อยละ 11.76 หายใจเร็ว ร้อยละ 3.92 และปวดศีรษะ ร้อยละ 1.96 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี RT-PCR และ ATK กับกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธี RT-PCR แต่ให้ผลลบด้วยวิธี ATK พบว่า ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมสำหรับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (Ct) ของ N gene และ ORF1ab gene ในกลุ่มแรกมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่สองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.030 และ 0.032 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การรวมกลุ่มทำกิจกรรม การไม่ได้รับวัคซีน ความแตกต่างทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ฉบับวันที่ 11 สิงหาคม 2564 กรมควบคุมโรค [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_110864.pdf

บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 20(1), 1-12.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no718-211264.pdf

สำนักงานสถิติจังหวัดแพร่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/วิเคราะห์โควิด19/north/phra.pdf

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์. (2565). ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนธันวาคม 2564 เปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์โอไมคร่อนเป็นหลักในพื้นที่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.cmu.ac.th/th/article/b267fbf4-7f6c-4133-8950-eb623475667c

Davies, N. G., Abbott, S., Barnard, R. C., et al. (2021). Estimated transmissibility and impact of SARS-CoV-2 lineage B.1.1.7 in England. Science, 372(6538), 1-9. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.science.org/doi/pdf/10.1126/science.abg3055

Dong, E., Du, H., & Gardner, L. (2020). An interactive web-based dashboard to track COVID-19 in real time. The Lancet Infectious Diseases, 20(5), 533-534. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S1473-3099%2820%2930120-1

Guo, Y. R., Cao, Q. D., Hong, Z. S., et al. (2020). The origin, transmission and clinical therapies on coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak – an update on the status. Military Medical Research, 7(11), 1-10. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7068984/pdf/40779_2020_Article_240.pdf

Hamner L., Dubbel P., Capron I., et al. (2020). High SARS-CoV-2 Attack Rate Following Exposure at a Choir Practice — Skagit County, Washington, March 2020. Morbidity and Mortality Weekly Report, 69(19), 606-610. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/pdfs/mm6919e6-H.pdf

Jayaweera, M., Perera, H., Gunawardana, B., & Manatunge, J. (2020). Transmission of COVID-19 virus by droplets and aerosols: A critical review on the unresolved dichotomy. Environmental Research, 188, 1-18. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7293495/pdf/main.pdf

Shim, E., Tariq, A., Choi, W., Lee, Y., & Chowell, G. (2020). Transmission potential and severity of COVID-19 in South Korea. International Journal of Infectious Diseases, 93, 339-344. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7118661/pdf/main.pdf

Smith, R. D., Johnson, J. K., Clay, C., et al. (2022). Clinical evaluation of Sofia Rapid Antigen Assay for detection of severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) among emergency department to hospital admissions. Infection Control & Hospital Epidemiology, 43(8), 968-973. [cited 2022 July 22]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8376850/pdf/S0899823X21002816a.pdf

Zuo, Y. Y., Uspal, W. E., & Wei, T. (2020). Airborne Transmission of COVID-19: Aerosol Dispersion, Lung Deposition, and VirusReceptor Interactions. American Chemical Society Nano, 14, 16502-16524. [cited 2022 July 22]; Available from: https://pubs.acs.org/doi/pdf/10.1021/acsnano.0c08484

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30