การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด อำเภอสอง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • จิรายุทร์ พุทธรักษา พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว, อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) โรงพยาบาลสอง จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, การประเมินระบบเฝ้าระวัง, วัณโรคปอด

บทคัดย่อ

การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในพื้นที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการคัดกรองและรายงานการเฝ้าระวังวัณโรคปอดผ่านโปรแกรม NTIP ร่วมกับคุณลักษณะเชิงคุณภาพและคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โดยการสุ่มตัวอย่างฐานข้อมูลเวชระเบียนจากโปรแกรม HOSxP จำนวน 3,994 ฉบับ เปรียบเทียบกับข้อมูลในระบบเฝ้าระวังผ่านโปรแกรม NTIP ในช่วงปี 2560-2564 พบว่า มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามจำนวน 406 ราย อัตราส่วนผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกต่อผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะลบเท่ากับ 1.52 : 1 ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด พบว่า การคัดกรองและรายงานผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอดทำได้สะดวกและรวดเร็ว ระบบเฝ้าระวังมีความง่ายต่อการปฏิบัติงาน มีความยืดหยุ่น มีความมั่นคง เป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ ผลการศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด พบว่า ค่าความไวร้อยละ 95.57 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 98.23 ความทันเวลาของการรายงานร้อยละ 94.59 ข้อมูลที่รายงานมีความครบถ้วนร้อยละ 100.00 และมีความถูกต้องร้อยละ 97.27 ข้อมูลดังกล่าวสามารถเป็นตัวแทนที่ดี เนื่องจากคุณลักษณะเชิงปริมาณทุกตัวที่กล่าวมาข้างต้นจัดอยู่ในระดับดีมาก จึงสามารถสรุปได้ว่า ระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่มีประสิทธิภาพ

References

ชลนิสา รุ่งเรือง และพัชรนันท์ วงษ์ประเสริฐ. (2562). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562, 50, 457-463.

โชติ ภาวศุทธิกุล, ชนิญญา พัฒนศักดิ์ภิญโญ และกาญจนา ทรัพย์สิน. (2564). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในบุคลากรโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 18(3), 248-259.

ธีรารัตน์ พลราชม และเสริมสุข แก้วเคน. (2562). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรค อำเภอกุสุมาลย์จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562, 50, 429-437.

ปิยะณัฐ บุญประดิษฐ์ และอร่าม เกตุมณี. (2558). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอด โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2558, 46, 68-75.

พิเชษฐ พืดขุนทด และพุฒิธร มาลาทอง. (2562) การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรค อำเภอชายแดน จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562, 50, 701-709.

สมศักดิ์ อุทัยพิบูลย์ และจิตรลดา กิจเจริญทรัพย์. (2546). การประเมินระบบข้อมูลและระบาดวิทยาผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2544. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2546, 34(37), 693-699.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุดารัตน์ วิจิตรเศรษฐกุล และวรรณวิศา เอี้ยงทอง. (2562). การประเมินระบบเฝ้าระวังวัณโรคปอดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560-30 กันยายน 2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562, 50, 81-88.

สุรเชษฐ์ ดวงตาผา. (2563). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เดงกี่จังหวัดอุดรธานี ปี 2561. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 5(1), 67-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10