ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563

ผู้แต่ง

  • สาริกข์ พรหมมารัตน์ พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, การเสียชีวิตจากวัณโรค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ขึ้นทะเบียนรักษา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560-30 กันยายน 2563 จากโปรแกรม National Tuberculosis Information Program (NTIP) ของกองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 213 คน ที่มีข้อมูลการรักษาตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการรักษา โดยปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) ผลการตรวจเสมหะเมื่อเริ่มรักษา การติดเชื้อ HIV และโรคร่วมอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 5.25 เท่าของผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี (AOR=5.25, 95%CI=1.41-19.61) ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจเสมหะเมื่อเริ่มรักษา 2+ ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตเป็น 8.92 เท่าของผู้ป่วยที่ผลการตรวจเสมหะเมื่อเริ่มรักษาน้อยกว่า 2+ (AOR=8.92, 95%CI=2.19-27.74) และผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 5.31 เท่าของผู้ป่วยที่ไม่มีโรคร่วมเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง (AOR=5.31, 95%CI=1.62-17.40) ดังนั้นเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จึงจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ตัวชี้วัดที่ 025: อัตราสำเร็จของการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1434

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2563). ทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปีงบประมาณ 2561-2563. (เอกสารอัดสำเนา).

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564a). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564b). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

เจริญศรี แซ่ตั้ง. (2560). ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 436-447.

พรพิสุทธิ์ เดชแสง. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 908-919.

อัมพาพันธ์ วรรณพงศภัค และกิตติกาญจน์ มูลฟอง. (2560). ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 13(2), 72-85.

Huaman, M. A., Henson, D., Ticona, E., Sterling, T. R., & Garvy, B. A. (2015). Tuberculosis and cardiovascular disease: linking the epidemics. Tropical Diseases, Travel Medicine and Vaccines, 1(10), 1-7. [cited 2022 October 6]; Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4729377/

Kwon, Y. S., Kim, Y. H., Song, J. U., et al. (2014). Risk factors for death during pulmonary tuberculosis treatment in Korea: a multicenter retrospective cohort study. Journal of Korean Medical Science, 29(9), 1226-1231. [cited 2022 November 21]; Available from: https://jkms.org/pdf/10.3346/jkms.2014.29.9.1226

Reider, H. L., Deun, A. V., Kam, K. M., et al. (2007). Grading scales for bright field (Ziehl-Neelsen) and fluorescence microscopy. In: Priorities for tuberculosis bacteriology services in low-income countries. (2nd ed.). Paris: International Union Against Tuberculosis and Lung Disease (The Union).

World Health Organization. (2021). Global Tuberculosis Report 2021 [online]. [cite 2022 August 12]; Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240037021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30