การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการจัดตั้งสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ทรงยศ คำชัย ศศ.ด. (การวางแผนและพัฒนาชนบท) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • สุธิดา ทาระคำ ศศ.บ. (การพัฒนาชุมชน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • ทศพล จีโน ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • อารีรัตน์ บุญรักษา ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • วงศ์อัมพร ภิญญวงค์ พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • จิรวรรณ ปัญญาปิน ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) โรงพยาบาลดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
  • ณัฐภูมิ รู้ดี ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอยเต่า

คำสำคัญ:

โรคอาหารเป็นพิษ, เชื้อบาซิลลัส ซีเรียส, สอบสวนการระบาด

บทคัดย่อ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลดอยเต่า พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจำนวนมาก ในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการจัดตั้งสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ประเภทสำรอง ในอำเภอดอยเต่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 จึงดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย อธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และเสนอแนะมาตรการควบคุมโรคและป้องกันโรคที่เหมาะสม โดยทำการศึกษาในประชากรทั้งหมด 93 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ทบทวนเอกสารการรักษาจากโรงพยาบาล ตรวจสอบผลการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และการศึกษาทางสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ มัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการสอบสวน พบผู้ป่วยทั้งหมด 64 ราย อัตราป่วยร้อยละ 68.82 อาการหลักที่พบ ได้แก่ ถ่ายเหลว ปวดมวนท้อง และคลื่นไส้ ระยะฟักตัวเฉลี่ย 16 ชั่วโมง ลักษณะการอบรมแบบเข้าค่าย ผู้เข้าอบรมรับประทานอาหารเหมือนกันทุกมื้อ จึงไม่สามารถหาความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ สรุปสาเหตุที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุจากข้อมูลอื่นๆ พบว่า การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ จากเชื้อบาซิลลัส ซีเรียส โดยอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของการระบาด คือ ข้าวมันไก่ ซึ่งเป็นอาหารมื้อกลางวันของวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากตรวจพบเชื้อในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ส่วนด้านสภาพแวดล้อม พบว่าสถานที่และกระบวนการปรุงเอื้อต่อการสัมผัสเชื้อ คือ พื้นสถานที่ปรุงเป็นพื้นดินแข็ง ปรุงเสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้ก่อนตักใส่ถุง และอาจมีการนำน้ำจิ้มที่เหลือมาผสม จึงให้คำแนะนำเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล สุขาภิบาลอาหาร และแนวทางการสอบสวนโรคกรณีมีการรับประทานอาหารเหมือนกันทุกมื้อ

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแคนนา กราฟฟิค.

ณัฐวุฒิ ปักธงชัย. (2558). รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ ในนักเรียนและชาวบ้านอำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 30 กันยายน และวันที่ 2 ตุลาคม 2558. (เอกสารอัดสำเนา).

ธนาวดี ตันติทวีวัฒน์, ดรุณี โพธิ์ศรี, ธนัญลดา เมืองมนประเสริฐ และชุลีพร จิระพงษา. (2556). การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการบริโภคนมโรงเรียน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เดือนสิงหาคม 2554. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 22(4), 584-595.

โรงพยาบาลราชวิถี. (2560). อาหารเป็นพิษ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3728

ศูนย์ข้อมูลทีมตระหนักรู้สถานการณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2565). สรุปสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ. (เอกสารอัดสำเนา).

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus Cereus) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/bacillus_cereus_2.pdf

สุกัญญา จงศิริยรรยง และทัศนีย์ พานอนันต์. (2564). การสอบสวนการระบาดของโรคอุจจาระรวงเฉียบพลันในที่พักชั่วคราว จังหวักกรุงเทพมหานคร ตุลาคม 2563. วารสารควบคุมโรค, 47(4), 1103-1115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10