การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลจิตเวช

ผู้แต่ง

  • จรัญ มาลาศรี ส.ม. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • ชุติมณฑน์ สิงห์เขียว พ.บ. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • สมร นุ่มผ่อง ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • จุฑาทิพย์ ปรีการ วท.บ. (การส่งเสริมสุขภาพ) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • นันทนา แต้ประเสริฐ ส.ม. (ชีวสถิติ) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การสอบสวนโรค, การระบาดในโรงพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคจึงได้ดำเนินการสอบสวนโรค เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา ค้นหาผู้สัมผัสและศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ โดยใช้รูปแบบการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันในหอผู้ป่วยรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 และศึกษาทางสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยที่พบการระบาด ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยยืนยัน 45 ราย จากการสอบสวนทั้งหมด 81 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 55.56 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 97.78 ค่ามัธยฐานอายุเท่ากับ 33 ปี มีโรคประจำตัว ร้อยละ 6.67 แสดงอาการป่วย ร้อยละ 91.11 มีอาการไข้ ร้อยละ 82.93 ปอดอักเสบ ร้อยละ 8.89 และไม่พบการแพร่ระบาดไปยังหอผู้ป่วยอื่นๆ ลักษณะการระบาดของโรคจากแหล่งแพร่เชื้อร่วม โดยแหล่งรับเชื้อสันนิษฐานว่ามาจากบุคลากรและนักศึกษาฝึกงานที่ปฏิบัติงานและเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ป่วยรายแรกในช่วง 5 วัน ก่อนตรวจพบเชื้อ สำหรับปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดการระบาดในครั้งนี้ อาจมาจากข้อจำกัดของสถานที่ที่มีการจัดการโรคระบาดค่อนข้างยาก เนื่องจากลักษณะของผู้ป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้สำหรับประชาชนทั่วไปได้ การแพร่กระจายของโรคเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันร่วมกัน ทั้งการพูดคุยหรือการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลควรมีมาตรการเข้มข้นในการคัดกรองกลุ่มบุคคลภายนอกที่เดินทางเข้า-ออก รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมและระบบระบายอากาศอย่างเหมาะสม และควรมีการทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมอย่างสม่ำเสมอ

References

กฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. (2551, 20 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 69 ก. หน้า 1-4.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). นิยามและแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_130165.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพและ สภาพแวดล้อม [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: https://dcd.hss.moph.go.th/web/attachments/article/41/WARD.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ricd.go.th/webth2/wp-content/uploads/2021/06/Health-Service-System-Standards-Year-64.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). Bubble and Seal คืออะไร? [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1159220210702083831.pdf

จิรชาติ เรืองวัชรินทร์, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, ชรัฐพร จิตรพีระ, กรรณิกา สุวรรณา และวรวิทย์ เสงี่ยมวรกุล. (2563). การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยหญิงโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เดือนมีนาคม–เมษายน 2563. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 51(34), 513-525.

ณัฐกาญจน์ กอมณี และฐินีรัตน์ ถาวร. (2565). บทบาทของพยาบาลผู้ป่วยนอกในการป้องกันและควบคุมการ แพร่กระจายเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลศิริราช. วารสาร มฉก.วิชาการ, 26(1), 117-128.

ภพกฤต ภพธรอังกูร. (2563). แนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์เพื่อการเสนอผลงานวิชาการ สำหรับนักวิชาการสาธารณสุข แพทย์ และพยาบาล ที่ทำงานระบาดวิทยาภาคสนาม [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.bhophkrit.org/uploads/1/2/9/6/129674478/แนวทางการเขียนรายงานสอบสวนโรคฉบับสมบูรณ์สำหรับทีม_jit_edited_30112563.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 731 วันที่ 7 มกราคม 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no731-070165.pdf

ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2565). โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ระยะฝักตัวเปลี่ยนไปจริงหรือ? [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19-สายพันธุ์-โอมิครอ/

สุธารัตน์ แลพวง. (2563). การบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Azuma, K., Yanagi, U., Kagi, N., Kim, H., Ogata, M., & Hayashi, M. (2020). Environmental factors involved in SARS-CoV-2 transmission: effect and role of indoor environmental quality in the strategy for COVID-19 infection control. Environmental Health and Preventive Medicine, 25, 1-16.

Bikbov, B., & Bikbov, A. (2021). Maximum incubation period for COVID-19 infection: Do we need to rethink the 14-day quarantine policy?. Travel Medicine and Infectious Disease, 40, 101976.

He, X., Hong, W., Pan, X., Lu, G., & Wei, X. (2021). SARS-CoV-2 Omicron variant: Characteristics and prevention. MedComm, 2(4), 838-845.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30