ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปภากร เผ่าเวียงคำ ส.ม. (บริหารสาธารณสุข) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, โรคเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำบ้านในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 308 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.39, S.D.=0.66) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปัจจัยจูงใจในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดังนั้นควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กองสนับสนุนภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย ปีพุทธศักราช 2557 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/1600544070_VHVs57.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อยกระดับเป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กุลนิดา สายนุ้ย. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตเมือง จังหวัดยะลา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และยุคนธ์ เมืองช้าง (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1) ,60-70.

เจนจิรา ปันแก้ว, มนทกานต์ โอประเสริฐสวัสดิ์ และฤทธิรงค์ พันธ์ดี. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 35-48.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, อมลวรรณ อนุการ, เบญจมาศ โนวัฒน์ และคณะ. (2561). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 1-12.

พรทวี สุวรรณพรม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดอุบลราชธานี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ไพบูลย์ งามสกุลพิพัฒน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มินตรา สาระรักษ์. (2553). การเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 39-48.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิเชียร มูลจิตร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 1(1). 36-50.

วีระพงษ์ นวลเนือง, สมโภช รติโอฬาร และวรางคณา จันทร์คง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5; วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557; อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: อาร์ต ควอลิไฟท์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2564). รายงานการสรุปผลตรวจราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: http://49.231.15.21/deptweb/upload/files/PCUF25620710144330801.pdf

อานุรี วังคะฮาต. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จังหวัดมุกดาหาร. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Green, L.W., & Kreuter, M. W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environmental Approach. 2nd ed. Toronto: Mayfield.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. California: Addison–Wesley.

Istek, N., & Karakurt, P. (2016). Effect of Activities of Daily Living on Self-Care Agency in Individuals with Type 2 Diabetes. Journal of Diabetes Mellitus. 6(4), 247-262.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27