สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่วิเคราะห์รูปแบบการกระจายโรคเลปโตสไปโรสิส จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2560-2564
คำสำคัญ:
เลปโตสไปโรสิส, การวิเคราะห์เชิงพื้นที่, พื้นที่เสี่ยง, การกระจุกตัวบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้nมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของโรคเลปโตสไปโรสิส และจำแนกพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวหนาแน่นของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 และเชื่อมโยงกับแผนที่ขอบเขตระดับตำบล วิเคราะห์รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของโรคเลปโตสไปโรสิสด้วยสถิติสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ Moran’s I และวิเคราะห์การกระจุกตัวหนาแน่นของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสด้วย Local Getis-Ord Gi* ผลการศึกษาการกระจายของโรคเลปโตสไปโรสิสในระดับตำบล พบว่ามีรูปแบบความสัมพันธ์เป็นกลุ่ม ในปี พ.ศ. 2560-2563 ในขณะที่ปี พ.ศ. 2564 ไม่มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบกลุ่ม นอกจากนี้พื้นที่เสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรสิส พบว่า ปี พ.ศ. 2560-2564 มีจำนวน 40, 27, 26, 16 และ 11 ตำบล ตามลำดับ ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีประสิทธิผลต่อการวิเคราะห์และการแสดงผลของพื้นที่เสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรสิส สามารถจำแนกรูปแบบความสัมพันธ์ของการจัดกลุ่มการระบาดโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ได้ และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรสิส
References
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566]; Available from: http://dcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/22
จารุวรรณ์ วงบุตดี และวัชรพงษ์ แสงนิล. (2555). พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชน ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน หัวข้อ ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน; วันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555; โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น.
ธวัชชัย เติมใจ. (2565). การสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสโดยการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อลดประชากรหนูในครัวเรือนของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สุชาดา แก้วดวงเล็ก, สุรภา วิชาเป็ง และสุดารัตน์ ชาติสุทธิ. (2564). การพยากรณ์การเกิดโรคเลปโตสไปโรสิสตามฤดูกาลโดยศึกษาปัจจัยทางสภาพอากาศสำหรับประเทศไทยปี พ.ศ. 2553-2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(5), 802-813.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ. (2565) โรคเลปโตสไปโรสิส จังหวัดศรีสะเกษ. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2564a). จำนวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส แยกตามอาชีพ ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://doe.moph.go.th/surdata/y64/c_occ_Lepto_64.rtf
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2565b). จำนวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส แยกตามอาชีพ ปี 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://doe.moph.go.th/surdata/y65/c_occ_Lepto_65.rtf
Astudillo, V.G., Hernández, D.W., Stadlin, J.P., Bernal, L.A., Rodríguez, D.A., & Hernán-dez, M.A. (2012). Comparative seroprevalence of Leptospira interrogans in Colombian mammals along a climatic gradient. Journal of Zoo and Wildlife Medicine, 43(4), 768-775.
Chadsuthi, S., Chalvet-Monfray, K., Geawduanglek, S., Wongnak, P., & Cappelle, J. (2022). Spatial-temporal patterns and risk factors for human leptospirosis in Thailand, 2012-2018. Scientific Reports, 12(1), 5066.
Hacker, K.P., Sacramento, G.A., Cruz, J.S., et al. (2020). Influence of Rainfall on Leptospira Infection and Disease in a Tropical Urban Setting, Brazil. Emerging Infectious Diseases, 26(2), 311-314.
Herbreteau, V., Demoraes, F., Khaungaew, W., et al. (2006). Use of geographic information system and remote sensing for assessing environment influence on leptospirosis incidence, Phrae province, Thailand. International Journal of Geoinformatics, 2(4), 43-50.
Ivanova, S., Herbreteau, V., Blasdell, K., et al. (2012). Leptospira and Rodents in Cambodia:
Environmental Determinants of Infection. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 86(6), 1032–1038.
Jittimanee, J., & Wongbutdee, J. (2014). Survey of pathogenic Leptospira in rats by polymerase chain reaction in Sisaket Province. Journal of the Medical Association of Thailand, 97 (Suppl 4), S20-24.
Levett, P.N. (2001). Leptospirosis. Clinical Microbiology Reviews, 14, 296-326.
Luenam, A., & Puttanapong, N. (2019). Spatial and statistical analysis of leptospirosis in Thailand from 2013 to 2015. Geospatial Health, 14(1), 121-127.
Saengnill, W., Wongbutdee, J. & Phuphak S. (2009). Geographic Information System for Leptospirosis Risk Assessment Area in Ubon Ratchathani Province. The Public Health Journal of Burapha University, 4(1), 67-79.
Suwanpakdee, S., Kaewkungwal, J., White, L. J., et al. (2015). Spatio-temporal patterns of leptospirosis in Thailand: is flooding a risk factor?. Epidemiology and Infection, 143(10), 2106-2115.
United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs. (2022). Thailand – Subnational Administrative Boundaries [online]. [cited 2022 May 2]; Available from: https://data.humdata.org/dataset/cod-ab-tha?.
World Health Organization. (2003). Human leptospirosis: guidance for diagnosis, surveillance and control [online]. [cited 2023 January 28]; Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/42667