ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ แก้วจันดี ส.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พัชราภรณ์ ไกรนรา วท.ด. (ชีวสารสนเทศและชีววิทยาเชิงคอมพิวเตอร์) ภาควิชาวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • วีระชน หวังสวัสดิ์ วท.ม. (การจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
  • นิชชนันท์ บุญสุข วท.ม. (เภสัชกรรมแผนไทย) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรม, ทฤษฎีแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำแนกเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคุณลักษณะทางประชากร ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง ระยะเวลาในการวิจัยดำเนินการทำ 6 กิจกรรม รวม 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้สุขศึกษากับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อื่นๆ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13106&gid=18

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). จำนวนอัตราป่วย ตาย ปี 2559-2562 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=%2013893%20&tid=32&gid=1-020

ธนะวัฒน์ รวมสุก, สุรินธร กลัมพากร และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2561). ผลของโปรแกรมเลิกบุหรี่โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาล, 67(1), 1-10.

รำไพ นอกตาจั่น. (2559). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(2), 16-28.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่างศิลา. (2562). รายงานผลการคัดกรองตรวจสุขภาพประชาชน ปี 2562. (เอกสารอัดสำเนา).

วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์. (2560). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. สาธารสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). โรคความดันโลหิตสูง คลังข้อมูลสุขภาพ (HDC) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2018&source=pformated/format1.php&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). Research in Education. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.

Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.

Rogers, R. W. (1975). A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change1. The Journal of Psychology, 91(1), 93-114.

Rogers, R.W. (1983). Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A Revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.), Social Psychophysiology. New York: Guilford Press.

University of California San Francisco. (2021). Sample Size Calculators for designing clinical research [online]. [cited 2021 September 10]; Available from: https://sample-size.net/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30