ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศุภมาส อำพล พ.บ., ว.ว. เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • สุพัตรา ปวนไฝ พย.ม., อพย. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • สายนที ไทยสวัสดิ์ สส.บ. โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ปภัสรา มิตตา วท.บ. (กายภาพบำบัด) โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, การเยี่ยมบ้าน, การเยี่ยมบ้านแบบทางไกล, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โรคหลอดเลือดสมองโดยการเยี่ยมบ้าน ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 90 ราย โดยการเยี่ยมบ้านแบบทางไกล จำนวน 45 ราย และการเยี่ยมบ้านแบบลงพื้นที่จริง จำนวน 45 ราย ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมบ้านแบบทางไกลและการเยี่ยมบ้านแบบลงพื้นที่จริงไม่แตกต่างกัน และการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโรคหลอดเลือดสมอง โดยการเยี่ยมบ้านทั้งแบบทางไกลและแบบลงพื้นที่จริง มีระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และระดับความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผลการเยี่ยมบ้านทั้งแบบทางไกลและแบบลงพื้นที่จริง สามารถเพิ่มระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดระดับความพิการได้ ซึ่งรูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบทางไกล สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลและติดตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (2563). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง [online]. [cited 2023 October 24]; Available from: https://phn.bangkok.go.th/images/PDF/R2R_2563.pdf

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2560 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลกปี_2560_.pdf

คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู (Subacute Rehabilitation) พ.ศ.2558-2559 สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2559). การพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: https://www.rehabmed.or.th/files/book.pdf

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน (Intermediate Care). (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for intermediate care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: สู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะเเพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธัญพร สมันตรัฐ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงแบบ “3 ต”. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(36), 35-48.

พิชามญชุ์ สุวรรณฉัตร, ภัทรัตน์ ปานสุวรรณจิตร์ และวิชุดา จิรพรเจริญ. (2564). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ในการเพิ่มความสามารถการดำเนินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในโรงพยาบาลสารภีบวรพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17(2), 78-90.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. (2562) แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส.

สายพิณ หัตถีรัตน์. (2551). คู่มือหมอครอบครัว ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

สุพัตรา ปวนไฝ, ศรีวรรณา วงค์เจริญ, นิรมัย มณีรัตน์ และวราพร นนทศิลา. (2561). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(3), 500-509.

โสภาพรรณ อินต๊ะเผือก และวรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์. (2562). การเยี่ยมบ้าน: พยาบาลชุมชนยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(4), 140-148.

Ali, Z. H. (2013). Effect of Nursing Care Strategy on the Functional and Physical Abilities of Patients Following Stroke. Journal of Neurology & Neurophysiology. [cited 2022 October 25]; Available from: https://www.iomcworld.org/open-access/effect-of-nursing-care-strategy-on-the-functional-and-physical-abilities-of-patients-following-stroke-2155-9562.S8-006.pdf

American Heart Association. (2021). Let’s talk about stroke [online]. [cited 2022 October 25]; Available from: https://www.stroke.org/-/media/Stroke-Files/Lets-Talk-About-Stroke/Life-After-Stroke/LTAS_Complications-After-Stroke.pdf

Bernard, R. (2011). Fundamentals of biostatistics. 7th ed. Boston: Brooks/Cole, Cengage Learning.

Moradi, V., Babaee, T., Esfandiari, E., Lim, S. B., & Kordi, R. (2021). Telework and telerehabilitation programs for workers with a stroke during the COVID-19 pandemic: A commentary. Work, 68(1), 77-80.

Mubaraki, A. A., Alrabie, A. D., Sibyani, A. K., Aljuaid, R. S., Bajaber, A. S., & Mubaraki, M. A. (2021). Advantages and disadvantages of telemedicine during the COVID-19 pandemic era among physicians in Taif, Saudi Arabia. Saudi Medical Journal, 42(1), 110-115.

World Stroke Organization. (2022a). Annual report 2022 [online]. [cited 2023 May 31]; Available from: https://www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO_Annual_Report_2022_-_online.pdf

World Stroke Organization. (2022b). Global Stroke Fact Sheet [online]. [cited 2022 October 25]; Available from: https://www.world-stroke.org/publications-and-resources/resources/global-stroke-fact-sheet

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10