ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัวต่อการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ พงค์เขียว พย.บ. (พยาบาลศาสตร์) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รังสิยา นารินทร์ ปร.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ วท.ม. (พยาบาลสาธารณสุข) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัว, การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัวต่อการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ คนในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีความรุนแรงระดับ 3 จำนวน 52 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างมีระบบจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 คน และกลุ่มทดลอง 26 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัวต่อการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ คู่มือการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและ แผนการสอนการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Wilcoxon Signed-Rank test และ Mann Whitney U-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของครอบครัวผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ดังนั้นโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจครอบครัวมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจนำเอาไปปฏิบัติงานในชุมชนเพื่อให้ครอบครัวนำไปแก้ปัญหาการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้านได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ตัวชี้วัดที่ 035: อัตราการเกิดการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตฯ 01. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=35&kpi_year=2563&lv=2&z=01

จิรารัชต์ คำใจ. (2558). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศมาภรณ์ สุทธิรักษ์, รังสิยา นารินทร์ และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปฏิบัติของครอบครัว ในการบริหารข้อสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล, 35(4), 70-83. [สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/241976.

โรงพยาบาลสันป่าตอง. (2564). สถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (เอกสารอัดสำเนา).

วัชระ เกี๋ยนต๊ะ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวสำหรับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์. (2561). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf

เสาวนีย์ เหลืองอร่าม, พรทิพย์ ศรีโสภา และรวยริน ชนาวิรัตน์. (2561). การออกกำลังกายที่บ้านในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 30(2), 226-236.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, ภิตินันท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และสุริยา ฟองเกิด. (2560). การดูแลตนเองเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพปอดเมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 140-151.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2563). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563]; แหล่งข้อมูล: https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=67473ea582306d345ce1bb44b06ba2e9&id=33b1c30a4652927ac32fee24e8906170

อารีรัตน์ ชวนคิด และกุลระวี วิวัฒนชีวิน. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพและประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลป่าแดด. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 5(1), 59-75. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/156246

อุบล ไตรถวิล. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(2), 268-280. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/147116/108404

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. (2020). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. [online]. [cited 2022 February 10] Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2019/11/GOLD-2020-REPORT-ver1.0wms.pdf

World Health Organization. (2020). Chronic respiratory diseases (asthma, COPD). [online]. [cited 2022 February 10] Available from: https://www.who.int/westernpacific/health-topics/chronic-respiratory-diseases

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30