การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ชัชชฎาภร พิศมร วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • เอกสิทธิ์ ไชยปิน ปร.ด. (เวชศาสตร์ชุมชน) สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อลงกต ประสานศรี ส.ม. (วิทยาการระบาดและการจัดการสารสนเทศทางสาธารณสุข) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ณัฐกฤษฏ์ ธรรมกวินวงศ์ ส.ด. (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความสามารถตนเอง, โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ศึกษารวมทั้งสิ้น 2 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย โปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง จัดกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังของผลจากการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ paired samples t-test ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุระหว่าง 60 – 65 ปี ร้อยละ 73.33 ก่อนการทดลองผู้สูงอายุมีการรับรู้ความสามารถตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 76.67 หลังการทดลองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 ก่อนการทดลองความคาดหวังของผลจากการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.33 หลังการทดลองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100 และก่อนการทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 93.33 หลังการทดลองอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.67 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังของผลจากการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

References

กนกวรรณ อุดมพิทยารัชต์. (2557). โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 7(1), 62-72

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566a). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566b). สถิติผู้สูงอายุ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2387

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2565). ข้อมูลชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2565. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล:https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/?p=66010

ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์, ประสานศิลป์ คำโฮง และรพล แวงนอก. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริม การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 106-118.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กองการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สิริกานต์ บรรพบุตร, นิรุวรรณ เทรินโบล์ และพิทยา ศรีเมือง. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(2), 168-78.

สายฝน สุภาศรี, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และวราภรณ์ บุญเชียง. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 51(1), 33-42.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

Ahmad Sharoni, S. K., Abdul Rahman, H., Minhat, H. S., Shariff-Ghazali, S., & Azman Ong, M. H. (2018). The effects of self-efficacy enhancing program on foot self-care behaviour of older adults with diabetes: A randomised controlled trial in elderly care facility, Peninsular Malaysia. PLOS ONE, 13(3), 1-23.

Bandura, A. (1997). SELF-EFFICACY The Exercise of Control [online]. [cited 2022 September 15]; Available from: https://www.academia.edu/28274869/Albert_Bandura_Self_Efficacy_The_Exercise_of_Control_W_H_Freeman_and_Co_1997_pdf

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Kafaei-Atrian, M., Sadat, Z., Nasiri, S., & Izadi-Avanji, F. S. (2022). The effect of self-care education based on self-efficacy theory, individual empowerment model, and their integration on quality of life among menopausal women. International Journal of Community Based Nursing and Midwifery, 10(1), 54-63.

Ramezani, T., Sharifirad, G., Rajati, F., Rajati, M., & Mohebi, S. (2019). Effect of educational intervention on promoting self-care in hemodialysis patients: Applying the self-efficacy theory. Journal of Education and Health Promotion, 8. 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30