ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ยสินทร มีกูล ส.บ. (ทันตสาธารณสุข) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลาปาก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
  • อรนภา ล่ำปิยะ ส.บ. (ทันตสาธารณสุข) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโป่งศรี อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
  • วุฒิฌาน ห้วยทราย ส.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 280 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคว์สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.71 อายุเฉลี่ย 20.42 ปี (S.D.=1.46) สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเพียงพอ ร้อยละ 65.36 รายได้ต่อเดือนมีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 7,000 บาท มีประสบการณ์สูบบุหรี่ ร้อยละ 26.43 และปัจจัยนำ ได้แก่ เพศ สถานะเศรษฐกิจของครอบครัว ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ความเครียด ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรเน้นการเสริมสร้างทัศนคติ ปลูกฝังค่านิยมการไม่สูบบุหรี่ตั้งแต่วัยเรียน/วัยรุ่น มีแนวทางการจัดการความเครียดในนักศึกษารวมถึงควรมีการป้องกันการสูบบุหรี่และส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในสถาบันครอบครัว

References

กรมสุขภาพจิต. (2560). แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564]; แหล่งข้อมูล: URL: https://dmh.go.th/ebook/dl.asp?id=134

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2565). สถิตินักศึกษาปัจจุบันจำแนกตามคณะ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.ubu.ac.th/web/academic/content/ข้อมูลสถิติทางการศึกษา/fbclid=IwAR3jC9ZgP92jjT9a_ns8IMKoabdogA7K9QYsDGzF69B-YL7KY5MR1LMdfAA

นิยม จันทร์นวล และพลากร สืบสำราญ. (2559). สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีปลอดบุหรี่. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(2), 1-10.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์, ธรรมศักดิ์ สายแก้ว และวรางคณา จันทร์คง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(3), 59-72.

ไพฑูรย์ วุฒิโส, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ และบวรวิช รอดรังษี. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล. 71(1), 1-9.

มณฑา เก่งการพานิช, แสงเดือน สุวรรณรัศมี, ชวาลา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และธราดล เก่งการพานิช. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขศึกษา, 37(128), 29-44.

รณชัย คล่ำคง และณรงศักดิ์ หนูสอน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่ของเกษตรกรชายชาวไร่ยาสูบ จังหวัดสุโขทัย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(1), 70-81.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยาลัยสหเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศศิธร ชิดนายี และวราภรณ์ ยศทวี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(1), 83-93.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2562). ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกับ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว “บ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ลดความรุนแรงต่อสุขภาพ” [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://mahidol.ac.th/th/2019/smoke-free/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). เผยผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/เผยผลสำรวจพฤติกรรมการส/

อนุชา เสริมสุข. (2555). พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยพะเยา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rded). New Jersey: Prentice hall.

Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. (2nded). New York: Academic Press.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Green, L.W., & Krueter, M.W. (1991). Health Promotion Planning an Educational and Environment Approach. (2nd ed.). Toronto: Mayfield Publishing Company.

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Lemeshow, S., Hosmer Jr., D.W., Klar, J. and Lwanga, S.K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies [online]. [cited 2021 October11]; Available from: https://www.academia.edu/39511442/Adequacy_of_Sample_Size_in_Health_Studies

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30