คนตากไม่ทิ้งกัน: การจัดการภาวะวิกฤตรับผู้ป่วยโควิด 19 กลับบ้าน
คำสำคัญ:
การจัดการภาวะวิกฤต, โควิด 19บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานในการจัดการภาวะวิกฤตรับผู้ป่วยโควิด 19 กลับบ้านในพื้นที่จังหวัดตากระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 เป็นการศึกษาผสมผสานระหว่างการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการจัดเวทีถอดบทเรียนการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการคนตากไม่ทิ้งกัน และการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับบริการในช่วงเวลาดังกล่าว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำเข้า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ประสานงานรับผู้ป่วยโควิด 19 ปัจจัยด้านกระบวนการมีการแบ่งการทำงานระดับจังหวัดถึงระดับชุมชน ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่าย และการสื่อสารในชุมชน ปัจจัยด้านผลผลิต มีผู้รับบริการติดต่อผ่านศูนย์คนตากไม่ทิ้งกัน 2,808 ราย ผู้ป่วยติดเชื้อกลับเข้ารักษาตัวที่จังหวัดตาก ร้อยละ 19.4 (546 ราย) เดินทางโดยรถโรงพยาบาล/รถทหาร/รถมูลนิธิ ร้อยละ 80.2 (438 ราย) รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 16.3 (89 ราย) เข้ารับการรักษารพ.สนามจังหวัดตาก ร้อยละ 76.4 (417 ราย) รองลงมาที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 23.6 (129 ราย) ส่วนปัจจัยด้านผลลัพธ์พบว่าสามารถบริหารจัดการให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่ระบบตรวจรักษาที่เร็ว ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และลดการแพร่กระจายโรค ปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่าเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ดังนั้นองค์ประกอบที่ควรต้องส่งเสริมคือ การให้ชุมชนกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ รวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินงานในสถานการณ์วิกฤติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถทำการตัดสินใจ และแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
References
กฤติยาพร พลาเศรษฐ, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, ภูษณิศา มีนาเขตร, สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์. (2565). การจัดการของชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3), 908-923.
ธีระ วรธนารัตน์. (2564). 'หมอธีระ' เตือนรับมือภาวะผึ้งแตกรัง 'คนงาน-ผู้ป่วยโควิด' เดินทางกลับต่างจังหวัด หลังประกาศล็อกดาวน์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaipost.net/main/detail/107761
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 12). (2564, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 114 ง. หน้า 72-74.
ศุภวัฒน์ เสาเงิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรี ตำบลหนองรีอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการบัญชาการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการจัดการในภาวะสาธารณภัย/ภัยพิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี.
อารีย์ เชื้อเดช. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ปี พ.ศ.2564. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 28(3), 5-15.
Quan, Z. H. O. U., Huang, S., Yaru, X. I. A. O., Miqi, L. I., & Zhiran, G. U. O. (2020). Reflections on the Cluster Epidemic of COVID-19; Lessons Learned from Wuhan’s Experience: A Brief Review. Iranian Journal of Public Health, 49(Suppl 1), 12-17.
Stufflebeam, D. L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. New Jersey: The Ohio State University.
Stufflebeam, D. L., Foley, W. J., Gephart, W. J., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois: Peacock Publisher.