การทดสอบสมรรถภาพทางกายและปัจจัยสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ของวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย, ดัชนีมวลกาย, พฤติกรรมการออกกำลังกายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถภาพทางกายและปัจจัยสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนของวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 81 ราย โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า การทดสอบการนั่งงอตัวของเพศชายมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 18.2 เพศหญิง ร้อยละ 14.3 เพศชายสามารถแตะมือด้านหลังโดยมือขวาและมือซ้ายอยู่บนได้สูงกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 18.2 และร้อยละ 36.7 ตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิงสามารถแตะมือด้านหลังโดยมือขวาและมือซ้ายอยู่บนได้สูงกว่ามาตรฐาน (มือขวา ร้อยละ 8.6 มือซ้าย ร้อยละ 26.7) จากการทดสอบการก้าวขึ้น-ลง 3 นาที โดยการนับชีพจรเป็นจำนวนครั้งต่อนาที พบว่า เพศหญิง ช่วงอายุ 18-29 ปีอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 17.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายของนักศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพเสริม (AOR=1.55, 95%CI= 1.03-21.58) รายได้ต่อเดือน (AOR=1.15, 95%CI=1.06-9.5) การออกกำลังกาย (AOR=1.87, 95%CI=1.22-34.51) ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรจัดสถานที่ออกกำลังกายให้เหมาะสมแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีพื้นที่ในการออกกำลังกายที่สะดวกและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). แบบประเมินความเครียด (ST5) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/test/download/view.asp?id=18
กรมอนามัย. (2565). กรมอนามัย เผย วัยทำงาน มีภาวะอ้วน แนะหลัก‘3อ 2ส 1ฟ 1น’ ลดเสี่ยง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/300465/
งานทะเบียนและประเมินผลการศึกษา. (2566). จำนวนนักศึกษาหลักสูตรปริญาตรีสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (รายงาน). อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.
ช่อผกา วันศรี, ฐิติกร รุ่งอรุณพิพัฒน์, มาธิณี เจ๊ะหามะ, ประเสริฐ ประสมรักษ์ และอรรถพงษ์ ฤทธิทิศ. (2565). การเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในการเรียนออนไลน์ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(1), 85-98.
นริศรา เปรมศรี, สุทธิรักษ์ วิเศษสังข์, ประชาชาติ อ่อนคำ, วัฒนพงษ์ คงสืบเสาะ และชยานนท์ อวิคุณประเสริฐ. (2559). กรณีศึกษาสมรรถภาพทางกาย และสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 18-25.
ปิยะดา คำวิจิตร และพันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับประทานอาหารจานเดียวกับค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคนงานในโรงงานแฟมิลี่ ชูส์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://grad.dup.ac.th/upload/content/files/ปีที่%206%20ฉบับที่%201/วารสารบัณฑิตศึกษา-121.pdf
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.
เพ็ญ สุขมาก. (2565). หลักคิด: สุขภาพ สุขภาวะ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://mehealthpromotion.com/upload/forum/paper_ch3.pdf
ภัทรสุดา สีมะชัย และสุจิตรา แซ่เตียว. (2565). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านต่างๆของการทดสอบสมรรถภาพทางกายและผลการทดสอบโดยรวม. Proceeding of the Medical Science Academic Annual Meeting. คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรรณภา เล็กอุทัย, ลี่ลี อิงศรีสว่าง, เนติ สุขสมบูรณ์ และยศ ตีระวัฒนานนท์. (2554) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 3, 299-306.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนทั่วไป ครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 178.
สนอง แย้มดี. (2553). สมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคเหนือ ปีการศึกษา 2551. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564) ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน [ออนไลน์]. [สืบค้น 11 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). การทดสอบสมรรถนะทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป, 1-9 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://www.cusc.chula.ac.th/wordpress/wp-content/uploads/2018/08/12fc494839335ca0e77b12f248602a74.pdf
เสริมพงศ์ ศิริสุขเจริญพร. (2550). การศึกษาสมรรถภาพทางกายของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. ชลบุรี
อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียซื่อ และไพลิน พิณทอง. (2560). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการในชุมชนกึ่งชนบทจังหวัดอุบลราชธานี. Rama Nursing Journal, 23(3), 344-357.
อำนาจ สร้อยทอง, จุมพล พุ่มเพชร และชาญยุทธ สุดทองคง. (2558). การประเมินสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(1), 54-62.
Dyrstad, S.M., Soltvedt, R., & Hallen, J. (2006). Physical fitness and fitness trainning during Nowegien Military Service. Military Medicine, 171, 734-741.
Kingkaew, N., Howteerakul, N., Tipayamongkholgul, M., Suwannapong, N., & Rawdaree, P. (2019). Prevalence and risk factors of metabolic syndrome among adults in a northeeastern province of Thailand. Suranaree Journal of Science and Technology, 26(4), 464-476.