วัณโรค: การพัฒนากระบวนการป้องกันควบคุมวัณโรคปอดในเรือนจำ
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, เรือนจำ, เอกซเรย์ทรวงอก, ปัญญาประดิษฐ์บทคัดย่อ
การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เพื่อศึกษากระบวนการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคปอดในเรือนจำ ค้นหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการคัดกรองวัณโรคปอด และศึกษาประสิทธิผลของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังรายเก่าในเรือนจำ 14 แห่งจากพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 22,000 คน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 - มีนาคม 2566 โดยศึกษากระบวนการและผลการคัดกรองวัณโรคปอดด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของผู้ต้องขังด้วยรถเอกซเรย์ระบบดิจิทัล ทุก 3, 6 และ 12 เดือน ผลการตรวจเสมหะด้วย GeneXpert MTB/RIF หรือ RT-PCR ในรายที่ AI พบค่าความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอดเข้าได้กับวัณโรคปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์ประสิทธิผลระบบปัญญาประดิษฐ์ ด้วยสถิติ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบผู้ป่วยวัณโรคปอดทุกระยะของการคัดกรองทุก 3 และ 6 เดือน ร้อยละ 0.62 และ 0.63 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการคัดกรองทุก 12 เดือน ที่จะพบผู้ป่วยวัณโรคร้อยละ 0.22 ในเรือนจำที่มีระบบการคัดกรองผู้ต้องขังแรกรับอย่างเข้มงวดไม่พบผู้ต้องขังรายเก่าป่วยวัณโรคปอด ระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถแยกกลุ่มผู้ต้องขังที่เสมหะพบเชื้อวัณโรคออกจากกลุ่มเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผู้ป่วยวัณโรคปอด เข้าสู่ระบบการรักษาช้าเกินกว่า 29 วัน ร้อยละ 56.10 การถ่ายภาพรังสีทรวงอกรอบ 3 และ 6 เดือน และอ่านฟิล์มด้วย AI สามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอดในเรือนจำได้เร็วกว่าเดิมที่ดำเนินการ 1 ครั้งต่อปีและอ่านฟิล์มโดยแพทย์ ดังนั้นโรงพยาบาลควรคัดกรองผู้ต้องขังอ่านฟิล์มด้วยระบบ AI และคัดกรองซ้ำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการชันสูตรโรครองรับปริมาณการตรวจเสมหะที่เพิ่มขึ้นต่อไป
References
กรมราชทัณฑ์. (2564). รายงานสถิติผู้ต้องขังราชทัณฑ์ทั่วประเทศ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2021-11-01&report=
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (ฉบับปรับปรุง). สมุทรปราการ: บอร์น ทูบีพับลิชชิ่ง.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค. (2565). แผนงานด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์. (2564). ปรับอัตราความจุผู้ต้องขัง [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: http://www.correct.go.th/infosaraban64/letter/filepdf/1634709164.pdf
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือการประเมินคุณภาพการป้องกันและรักษาวัณโรคในเรือนจำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564a). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564b). แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560 - 2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2565) กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2566). รายละเอียดตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการหน่วยงาน กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/psdg/pagecontent.php?page=1076&dept=psdg
ดารณี ภักดิ์วาปี และสุภาภรณ์ วัฒนาธร. (2562). การสำรวจความชุกของวัณโรคปอดพบเชื้อในผู้ต้องขังในเรือนจำพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 พ.ศ. 2560. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 9(2), 50-58. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1048420200909074802.pdf
ประดิษฐ นิรัติศัย. (2565). สถานการณ์การเกิดวัณโรคในผู้ต้องขังในเรือนจำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาพเหนือ. 9(1), 194-209. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/johss/article/view/252865/173139
พิมพ์นารา อินต๊ะประเสริฐ. (2564). SDG Updates เพราะสิทธิที่จะมีชีวิตรอดเป็นของทุกคน ส่องสถานการณ์วัณโรคในเรือนจำเมื่อโควิดเข้าไปกดทับ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.sdgmove.com/2021/07/01/sdgupdates-tb-prison/
วันดี วิรัสสะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ในเรือนจำจังหวัดสิงห์บุรี ปี 2561.
วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 10(2), 1-9. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1048620201005013813.pdf
สฤษดิ์เดช เจริญไชย. (2555). ความล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคปอดของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดปทุมธานี. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2559). มาตรฐานการป้องกันและดูแลรักษาวัณโรคในเรือนจำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือการประเมินคุณภาพการป้องกันและรักษาวัณโรคในเรือนจำ.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุชาญวัชร สมสอน และตันหยง เอี่ยมพร. (2565). ผลการประเมินคุณภาพการป้องกันและรักษาวัณโรคในเรือนจำเขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564. วารสารป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2), 112-121. [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1241320220304090618.pdf
Cao, X. F., Li, Y., Xin, H. N., Zhang, H. R., Pai, M., & Gao, L. (2021). Application of artificial intelligence in digital chest radiography reading for pulmonary tuberculosis screening. Chronic diseases and Translational Medicine, 7(1), 35-40. [cited 2023 October 7]; Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1016/j.cdtm.2021.02.001
Velen, K., Sathar, F., Hoffmann, C.J., et al. (2021). Digital Chest X-Ray with Computer-aided Detection for Tuberculosis Screening within Correctional Facilities. Annals of the American Thoracic Society, 19(8), 1313-1319. [cited 2023 October 7]; Available from: https://doi.org/10.1513/AnnalsATS.202103-380OC
World Health Organization. (2022). Global Tuberculosis Report 2022: TB incidence. [cited 2023 June 2]; Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/363752/9789240061729-eng.pdf?sequence=1