ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การดื่มแอลกอฮอล์, ทัศนคติของนักศึกษาบทคัดย่อ
การดื่มแอลกอฮอล์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขและสังคมที่สำคัญ โดยเฉพาะในนิสิตนับเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยและการเสียชีวิต การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต และเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 388 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสูง ร้อยละ 99.2 มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.9 มีระดับพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต้องแก้ไข ร้อยละ 85.6 ด้านปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ และการศึกษา มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งระดับทัศนคติ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมความรู้และทัศนคติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตต่อไป
References
กรมสุขภาพจิต. (2561). สถานการณ์การดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย [ออนไลน]. [สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567]; แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1234
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2566). ข้อมูลจำนวนนิสิตจำแนกตามปีการศึกษา [ออนไลน]. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://reg.up.ac.th/statistic
ฉัตรชัย พิมาทัย, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบเสี่ยงของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(1), 170-184. [สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/253339/172244
ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม, กนกพร หมู่พยัคฆ์ และนันทวัน สุวรรณรูป. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 25-36. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/view/100346/78117
ปาจรีย์ สําราญจิตต์, สุธี อยู่สถาพร และฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา: มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(2), 215-232. [สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/257001/174271
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และกิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4), 590-600. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/9302/8456
พลเทพ วิจิตรคุณากร และอธิบ ตันอารีย์. (2565). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2564 [ออนไลน]. [สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://cas.or.th/wp-content/uploads/2022/08/Ebook-Provincial-Alcohol-Report-.pdf
มณิภัทร์ ไทรเมฆ และอำไพ หมื่นสิทธิ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1-18. [สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.larts.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2017/05/พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา.pdf
วรัท ปทุมศรีวิโรจน์. (2561). ผลกระทบของพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 258-272. [สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/jdbs/article/download/383/282/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 [ออนไลน]. [สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ebook/2023/20230509202217_14104.pdf
Best, J. W. (1997). Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood Cliffs.
Bloom, B. S. (1968). Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1 [online]. [cited 2024 March 6]; Available from: https://eric.ed.gov/?id=eD053419
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planning an educational and ecological approach. 3rd ed. California: Mayfield.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160. [cited 2024 March 6]; Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/BF02288391
Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610. [cited 2024 March 6]; Available from: https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Messina, M. P., Battagliese, G., D’Angelo, A., et al. (2021). Knowledge and Practice towards Alcohol Consumption in a Sample of University Students. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(18), 1-12. [cited 2024 March 6]; Available from: https://doi.org/10.3390/ijerph18189528