ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การเยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การควบคุมพฤติกรรมจะนำไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้นการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเรียงตามค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงไปต่ำเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้าน ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Paired t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน
References
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (จำกัด).
จินตนา ทองเพชร (2556).ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมศักยภาพการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(2), 69-78. [สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article /view/12076/10872
พรวิภา ยาสมุทร์ และวงจันทร์ นันทวรรณ. (2566). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 19(2), 58-72 [สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/260975/181477
ภคภณ แสนเตชะ และประจวบ แหลมหลัก. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา, 43(2), 150–164. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/245975/166834
มัทนา สารีคำ และกุลนาถ มากบุญ. (2564). ผลการดูแลผู้ป่วยคลินิกเท้าเบาหวานในกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 246-259. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/254508/173936
รัตนาภรณ์ กล้ารบ อรพินท์ สีขาว และชฎาภา ประเสริฐทรง. (2564). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 274-283 [สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/253961
ราตรี ทองคำ. (2565). ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี. 30(3), 88-89. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/255800/173048
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายาง. (2564). ข้อมูลการติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่ายาง พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา).
วศิน ทองทรงกฤษณ์. (2565). การพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 19(1), 1–14. [สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10490
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
วิทยา จันทร์ทา และวรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2559). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงค์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง และวิมล โรมา. (2562). การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2562. นนทบุรี: ฟันนี่ พับลิชชิ่ง.
Boyko, E. J., Karuranga, D. S., Piemonte, L., Pouya, R., & Sun, H. (2013). Five questions on the IDF Diabetes Atlas. Diabetes Research and Clinical Practice, 102(2), 147-148. [cited 2023 May 20]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.diabres.2013.10.013
Butayeva, J., Ratan, Z. A., Downie, S., & Hosseinzadeh, H. (2023). The impact of health literacy interventions on glycemic control and self-management outcomes among type 2 diabetes mellitus: A systematic review. Journal of Diabetes, 15(9), 724–735. [cited 2023 May 20]; Available from: https://doi.org/10.1111/1753-0407.13436
Kirk, B. O., Khan, R., Davidov, D., Sambamoorthi, U., & Misra, R. (2023). Exploring facilitators and barriers to patient-provider communication regarding diabetes self-management. PEC Innovation, 3, 1-8. [cited 2022 December 3]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.pecinn.2023.100188
Liu, C., Wang, D., Jiang, J., et al. (2020). What is the meaning of health literacy? A systematic review and qualitative synthesis. Family Medicine and Community Health, 8(2), 1–8. [cited 2023 May 20]; Available from: https://doi.org/10.1136/fmch-2020-000351
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine ; 67(12): 2072-2078; Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0277953608004577?via%3Dihub
Ong-Artborirak, P., Seangpraw, K., Boonyathee, S., Auttama, N., & Winaiprasert, P. (2023). Health literacy, self-efficacy, self-care behaviors, and glycemic control among older adults with type 2 diabetes mellitus: a cross-sectional study in Thai communities. BMC Geriatrics, 23(1), 1–10. Available from: https://bmcgeriatr.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12877-023-04010-0
Parker, R., Baker, D. W., Williams, M. V. & Nurss, J. (1995). The test of functional health literacy in adults: a new instrument for measuring patients literacy skills. Journal of general internal medicine, 10(10), 537-541. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/bf02640361