การสอบสวนอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตในการซ้อมแข่งเรือยาว อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
พายเรือ, เรือยาว, จมน้ำเสียชีวิต, แม่น้ำยมบทคัดย่อ
วันที่ 6 ตุลาคม 2565 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ พบอุบัติเหตุจากการซ้อมแข่งเรือยาวในแม่น้ำยม ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทีมสอบสวนได้ร่วมกันสอบสวนอุบัติเหตุดังกล่าวเพื่อยืนยันสาเหตุของอุบัติเหตุและการเสียชีวิต ศึกษาระบาดวิทยา ระบุปัจจัยเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์และแพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ ทบทวนรายงานการชันสูตร ศึกษาสภาพแวดล้อมด้วยการสำรวจพื้นที่แม่น้ำยมและตรวจสอบข้อมูลระดับน้ำและอัตราเร็วเฉลี่ยของน้ำในวันที่เกิดเหตุ สำรวจซากเรือและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยในการซ้อมและแข่งเรือยาว นำเสนอการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของเหตุการณ์โดยใช้ Haddon Matrix Model ผลการศึกษาพบว่า เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565 ฝีพายจำนวน 11 คน ซ้อมแข่งเรือยาวที่แม่น้ำยม หลังจากนั้นเกิดเหตุการณ์น้ำเข้าเรือจนเรือเริ่มจม ฝีพายทั้ง 11 คนจึงทำการคว่ำเรือเพื่อเกาะเรือไว้และพยายามนำเรือกลับขึ้นฝั่ง แต่เนื่องด้วยในวันนั้นระดับน้ำในแม่น้ำยมสูง 4 เมตรและน้ำไหลเชี่ยว เรือจึงถูกกระแสน้ำพัดออกจากฝั่งจนไปชนตอม่อสะพาน มีฝีพายเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บ 2 คน ผลการชันสูตรสันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการจมน้ำ ในวันเกิดเหตุไม่มีหน่วยลาดตระเวนกู้ภัยประจำการ จากการสอบสวนอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตจากการซ้อมแข่งเรือยาว จังหวัดแพร่ คาดว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ด้วยลักษณะเรือยาวที่เสี่ยงต่อน้ำเข้าเรือได้ง่าย ระดับน้ำในแม่น้ำที่สูงขึ้น การขาดอุปกรณ์ชูชีพและไม่มีหน่วยกู้ภัยในช่วงเวลาเกิดเหตุ การกำหนดมาตรฐานการซ้อมและการแข่งเรือยาวในพื้นที่ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อไปในอนาคต
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2565). เรือยาวประเพณี [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://article.culture.go.th/index.php/layouts-modules-positions/3-column-layout-6/142-2019-07-03-02-38-40
กระทรวงวัฒนธรรม. (2565). ประเพณีแข่งเรือ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://calendar.mculture.go.th/events/101051
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. (2565). ระบบรายงานสถานการณ์การจมน้ำ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://dip.ddc.moph.go.th/drowningdashboard/public/
ทศนัย พิพัฒน์โชติธรรม, ณัฐวุฒิ ชอุ่มกฤษ, วิรัชญา ลิ้มกิติศุภสิน และคณะ. (2561). คู่มือการดำเนินงานชันสูตรพลิกศพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561). นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน. (2565). รายงานระดับน้ำรายชั่วโมงออนไลน์ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: http://hydro-1.rid.go.th/Data/HD-04/houly/water_today.php?station_id2=Y.1C
ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ และสุชาดา เกิดมงคลการ. (2565). ข้อแนะนำแนวปฏิบัติ: ความปลอดภัยทางน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
สมาคมกีฬาพายเรือแห่งประเทศไทย. (2565). ปฏิทินสมาคมกีฬาพายเรือแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.rcat.or.th/%e0%b8%9b%e0%b8%b5-2565/
สหพันธ์เรือมังกรนานาชาติ. (2555). ระเบียบการแข่งขันและกติกาการแข่งของสหพันธ์เรือมังกรนานาชาติ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.rcat.or.th/กฎกติกาเรือยาวมังกร/
American Red Cross. (2017). Swimming and Water Safety [online]. [cited 2022 November 14]; Available from: https://streamlinehealth.com/wp-content/uploads/2017/10/Basic_Water_Rescue_Guide_2017.pdf
American Whitewater. (1998). International scale of river difficulty [online]. [cited 2022 Dec 05]; Available from: https://www.americanwhitewater.org/content/Wiki/safety:internation_scale_of_river_difficulty
DeNicola, L. K., Falk, J. L., Swanson, M. E., Gayle, M. O., & Kissoon, N. (1997). Submersion injuries in children and adults. Critical care clinics, 13(3), 477–502. https://doi.org/10.1016/s0749-0704(05)70325-0
Eleanor, C., Ray, S. (2011). Drowning. Continuing Education in Anaesthesia Critical Care & Pain, 2011(11), 210–213.
Frostburg State University. (2018). Section 3: River Dynamics [online]. [cited 2022 November 14]; Available from: https://www.frostburg.edu/faculty/rkauffman/_files/images_rafting_chapters/Ch03b-RiverDynamics_v3.pdf
Haddon Jr, W. (1970). On the escape of tigers: an ecologic note. American Journal of Public Health and the Nations Health, 60(12), 2229-2234. [cited 2022 November 14]; Available from: https://doi.org/10.2105/ajph.60.12.2229-b
Işın, A., & Peden, A. E. (2024). The burden, risk factors and prevention strategies for drowning in Türkiye: a systematic literature review. BMC Public Health, 24(1), 528. [cited 2022 November 14] Available from: https://doi.org/10.1186/s12889-024-18032-9
Pyne, D. B., & Sharp, R. L. (2014). Physical and energy requirements of competitive swimming events. International journal of sport nutrition and exercise metabolism, 24(4), 351–359. https://doi.org/10.1123/ijsnem.2014-0047
Rajatanavin, N., Tuangratananon, T., Suphanchaimat, R., & Tangcharoensathien, V. (2021). Responding to the COVID-19 second wave in Thailand by diversifying and adapting lessons from the first wave. BMJ Global Health, 6(7), e006178. [cited 2022 November 14] Available from: https://doi.org/10.1136/bmjgh-2021-006178
United States Coast Guard. (2021). 2021 Recreational Boating Statistics [online]. [cited 2022 November 14]; Available from: https://www.uscgboating.org/library/accident-statistics/Recreational-Boating-Statistics-2021.pdf
World Health Organization. (2022). Drowning [online]. [cited 2022 Nov 11]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/drowning