ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะโภชนาการเกินในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของครอบครัว, เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวาน, เด็กวัยเรียน, ภาวะโภชนาการเกินบทคัดย่อ
โรคอ้วนในเด็กเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่ท้าทายการแก้ไขทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกเพราะมีผลกระทบโดยตรงกับเด็กในวัยเรียน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองการวิจัยรูปแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 38 ราย ทำการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มที่ทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) คู่มือและสื่อ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวได้นำไปใช้เป็นต้นแบบการส่งเสริมการจัดการเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลรสหวานของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียน [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://prgroup.hss.moph.go.th/info/news/1276
คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ร้อยละของนักเรียน ชั้น ป.1-ป.6 ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนได้รับการคัดกรองความเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2566 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://pte.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report_student.php?cat_id=67f8b1657bc8c796274fb9b6ad5a701d&id=aee928ed925a6e3c269f4f67b3f34a12
นารถลดา ขันธิกุล, อังคณา แซ่เจ็ง, ประยุทธ สุดาทิพย์, นพพร ศรีผัด, รุ่งระวี ทิพย์มนตรี และเสาวนีย์ วิบุลสันติ. (2558). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันควบคุมภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนสำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1107–1117. [สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/565/510
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.
ปริยาภรณ์ มณีแดง. (2560). บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4), 16-24. [สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/111698/87171
พัชรา สิริวัฒนเกตุ, ธนรัช สุขกาย และประวิทย์ ทองไชย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกินตามอารมณ์ของเด็กวัยรุ่น. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 12(2), 91-106. [สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/178305
พิจาริน สมบูรณกุล และเพ็ญ สุขมาก. (2563). ผลของกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสมวัยในโรงเรียนต่อพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5), 847-854. [สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/9476/8716
วิรินยา บัวลา และกรัณฑรัตนิ์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2566). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสร้างเสริมการรู้เท่่าทันสื่อในการส่งเสริมพฤติิกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในนักเรียนชั้นมัธยมศึึกษาตอนต้น. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 49(3), 107-115. [สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tahper/article/view/244760/181822
วิลาสินี หงสนันทน์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2562). การนำกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2), 1-15. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPHNU/article/view/221080
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). 4 เทคนิค ลดน้ำตาล กินหวานอย่างไรให้แฮปปี้ [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/4-เทคนิค-ลดน้ำตาล-กินหวาน-2/
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 1.11 ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน สำนักโภชนากา
รอบ 5 เดือนแรก ปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/doc/2564-1.11-2.pdf
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง 2558). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิศราพร พลายเถื่อน, จิราวรรณ จู้สวัสดิ์, สมฤทัย เมืองขำ, ชลิตภากรณ์ จ้อยชัย, กนกวรรณ สร้อยเรืองศรี และขวัญใจ จริยาทัศน์กร. (2564). บทบาทของผู้ปกครองในการปลูกฝังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็ก ในอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 3(1), 1-14. [สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ECEM/article/view/254804/171427
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1986). World Development. New York: McGaw-Hill.
Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159. [cited 2022 November 18]; Available from: https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.155
Jaichomcheun, S., Tuanrat, W., & Aungwattana, S. (2022). Effectiveness of Family Participation in Visual Care Program for School-Aged Children Using Digital Devices: A Quasi-Experimental Study. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 26(4), 555-568. [cited 2024 January 1]; Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/259258
McGuire, M., & Beerman, K.A. (2011). Nutritional sciences: from fundamentals to food. Belmont: Wadsworth Cengage learning.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
World Health Organization (WHO). (2017). Report of the Commission on Ending Childhood Obesity: implementation plan: executive summary [online]. [cited 2022 November 16]; Available from: https://iris.who.int/handle/10665/259349