ประสิทธิผลของการใช้ชุดการสื่อสารเรื่องโรคไข้มาลาเรียและ ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • นารถลดา ขันธิกุล ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • อังคณา แซ่เจ็ง Ph.D. (Insect Immunity) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • สมชาติ บุญคำมา ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • มัลลิกา อิ่มวงศ์ ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคไข้มาลาเรีย, ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี, ชุดการสื่อสาร, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

โรคไข้มาลาเรียเป็นปัญหาตามแนวชายแดนโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ชุดการสื่อสารเรื่องโรคไข้มาลาเรียและภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีก่อนและหลังการใช้ชุดการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ภาพพลิกและสมุดเล่มเล็กสำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ร่วมกับการเรียนการสอนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 7-13 ปี กำลังศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 แห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งสิ้น 88 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องโรคไข้มาลาเรีย ความรู้เรื่องภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคไข้มาลาเรีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคไข้มาลาเรีย ความรู้เรื่องภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียสูงกว่าก่อนการใช้ชุดการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นการดำเนินการใช้ชุดการสื่อสารที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับการให้ความรู้สำหรับนักเรียนในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียตามแนวชายแดน จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ มีการรับรู้ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียในการป้องกันยุงกัด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อการสลายเม็ดเลือดแดงเนื่องจากสาเหตุการพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี

References

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33. (2564). จำนวนนักเรียนและสถานศึกษาในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจําปี 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564]; แหล่งข้อมูล:

https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_AESR_2563_MIX.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2564). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจําปี 2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]; แหล่งข้อมูล: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_AESR_2564.pdf

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2562a). โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562]; แหล่งข้อมูล: https://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/home.php

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2562b). แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับบุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/file/d/1zHZYpATtCKwacldoomsmJ-Ak85y-Dq5t/view

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2564 การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://drive.google.com/file/d/1Exzdy7xZHJ-cBAnLrf2fKtoxfHmutrCY/view

จินตนา บรรลือศักดิ์. (2558). บทบาทของครูสุขศึกษากับกระบวนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อ. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 129-145. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/44589/36950

นารถลดา ขันธิกุล, อังคณา แซ่เจ็ง, สาริณี ศรีเทพ, ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์, สมชาติ บุญคำมา และมัลลิกา อิ่มวงศ์. (2564). ความชุกของภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารควบคุมโรค, 47(ฉบับเพิ่มเติมที่ 2), 1228-1241. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/248690/171648

รุ่งระวี ทิพย์มนตรี, ปิยะรัตน์ บุตราภรณ์ และนารถลดา ขันธิกุล. (2561). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโรคไข้มาลาเรีย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 18(3), 8-11.

สยัมภู ใสทา, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, ชนินทร์ เจริญกุล และจรณิต แก้วกังวาล. (2558). การกระจายและปัจจัยทำนายพื้นที่เสี่ยงโรคมาลาเรียในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(6), 610-621. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/scimsujournal/article/view/48290/40114

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ. 2560-2569. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

หัทยา ดำรงค์ผล. (2560). ทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 62(3), 271-276. [สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/62-3/08_Hattaya.pdf

อังคณา แซ่เจ็ง, นารถลดา ขันธิกุล, พัชรินทร์ บุญอินทร์, ประภา อนันทสุข, สาริณี ศรีเทพ และสาคร พรประเสริฐ. (2561). การประยุกต์ใช้ชุดตรวจ Fluorescent Spot Test เพื่อคัดกรองภาวะพร่อง เอนไซม์ G6PD สำหรับผู้ป่วยมาลาเรียในสถานบริการสาธารณสุขห่างไกล ภาคเหนือประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(2), 12-21. [สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/163063/118036

Auld, M. E., Allen, M. P., Hampton, C., et al. (2020). Health Literacy and Health Education in Schools: Collaboration for Action. NAM Perspectives, 2020, 10.31478/202007b. [cited 2022 November 24]; Available from: https://doi.org/10.31478/202007b

Bambo, F., Bande, J. D., Bacar, G. C., & Martin, S. (2018). Integrating Malaria Education into Primary School Activities [online]. [cited 2024 September 16]; Available from: https://www.malariaconsortium.org/media-download-file/201802070506/workingwithschoolsv3.pdf

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on for-mative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Chukwuocha, U. M., Iwuoha, G. N., Ogara, C. M., & Dozie, I. N. S. (2020). Malaria Classroom Corner: A School-Based Intervention to Promote Basic Malaria Awareness and Common Control Practices among School-Age Children. Health Education, 120(1), 107-119. [cited 2024 September 20]; Available from: https://doi.org/10.1108/HE-11-2019-0050

Clarke, S. E., Rouhani, S., Diarra, S., et al. (2017). Impact of a malaria intervention package in schools on Plasmodium infection, anaemia and cognitive function in schoolchildren in Mali: a pragmatic cluster-randomised trial. BMJ Global Health, 2(2), e000182. [cited 2024 September 23]; Available from: https://doi.org/10.1136/bmjgh-2016-000182

Devi, A. S., Kodi, M., & Devi, A. M. (2016). Living with Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency. Journal of Nursing Science & Practice, 6(1), 23-30. [cited 2022 November 24]; Available from: https://www.researchgate.net/publication/303790436_Living_with_Glucose-6-Phosphate_Dehydrogenase_Deficiency

Farea, B. A., Assabri, A. M., Aljasari, A. N., Farea, A. A., & Baktayan, N. A. (2020). Effect of Health Education on Knowledge Attitude Practice towards Malaria among Basic Schools Pupils in Taiz. Health, 12(9), 1299-1317. [cited 2024 September 16]; Available from: https://doi.org/10.4236/health.2020.129093

Hadiza, A. (2015). Supervised School Based Health Education on Malaria: Reinforcing Pupils’ Knowledge. Advances in Medical and Biological Science Research, 3(1), 74-80. [cited 2024 September 24]; Available from: https://dspace.unijos.edu.ng/jspui/bitstream/123456789/1090/1/0920150306.pdf

Harcke, S. J., Rizzolo, D., & Harcke, H. T. (2019). G6PD deficiency: An update. Journal of the American Academy of Physician Assistants, 32(11), 21-26. [cited 2022 December 20]; Available from: https://doi.org/10.1097/01.JAA.0000586304.65429.a7

Kesteman, T., Rafalimanantsoa, S. A., Razafimandimby, H., et al. (2016). Multiple causes of an unexpected malaria outbreak in a high-transmission area in Madagascar. Malaria Journal, 15, 57. [cited 2022 December 20]; Available from: https://doi.org/10.1186/s12936-016-1113-0

Luzzatto, L., & Arese, P. (2018). Favism and Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency. The New England Journal of Medicine, 378(1), 60-71. [cited 2022 May 14]; Available from: https://doi.org/10.1056/nejmra1708111

Luzzatto, L., Nannelli, C., & Notaro, R. (2016). Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase Deficiency. Hematology/Oncology Clinics of North America, 30(2), 373-393. [cited 2022 May 14]; Available from: https://doi.org/10.1016/j.hoc.2015.11.006

Satyagraha, A. W., Sadhewa, A., Elvira, R., et al. (2016). Assessment of Point-of-Care Diagnostics for G6PD Deficiency in Malaria Endemic Rural Eastern Indonesia. PLoS Neglected Tropical Diseases, 10(2), e0004457. [cited 2022 May 14]; Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pntd.0004457

Siriboon, D., & Songserm, N. (2016). Effects of the participatory learning program on malaria prevention and control of member households in Domepradit Sub-district, Nam Yuen, Ubon Ratchathani Province. SNRU Journal of Science and Technology, 8(3), 292-300. [cited 2022 November 24]; Available from: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/72000/58169

Sudathip, P., Kitchakarn, S., Shah, J. A., et al. (2021). A foci cohort analysis to monitor successful and persistent foci under Thailand’s Malaria Elimination Strategy. Malaria Journal, 20(1), 118. [cited 2022 December 20]; Available from: https://doi.org/10.1186/s12936-021-03648-8

Taylor, W. R. J., Thriemer, K., von Seidlein, L., et al. (2019). Short-course primaquine for the radical cure of Plasmodium vivax malaria: a multicentre, randomised, placebo-controlled non-inferiority trial. The Lancet, 394(10202), 929-938. [cited 2023 April 28]; Available from: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(19)31285-1

World Health Organization. (2021). World malaria report 2021. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28