ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในการขับขี่รถยนต์สาธารณะ เพื่อความปลอดภัยทางท้องถนนของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การประเมินความพร้อมทางการแพทย์, นโยบายเพื่อความปลอดภัยทางท้องถนนบทคัดย่อ
การเกิดอุบัติเหตุทางจราจรในประเทศไทยมีเหตุการณ์เพิ่มมากขึ้นมาตลอดเป็นเวลายาวนาน การศึกษา
เชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์เพื่อการขับขี่รถยนต์สาธารณะ วิเคราะห์ประสบการณ์ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการประเมินความพร้อมทางการแพทย์เพื่อการขับขี่ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจากเอกสารและข้อมูลจากโครงการพัฒนาระบบการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงจากการขับขี่ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและแบบจำแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษาพบว่ากรมควบคุมโรคมีการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยการนำองค์ความรู้ทางเวชศาสตร์การจราจร การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนมีกระบวนการพัฒนาระบบการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว และการออกใบรับรองแพทย์จัดบริการตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะ พร้อมทั้งตรวจสมรรถนะทางร่างกาย ปัจจัยความสำเร็จ พบว่ามีการพัฒนามาตรฐานการประเมินสมรรถนะ ความพร้อมในการขับขี่ และจัดตั้งคลินิกต้นแบบในประเทศไทย สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขควรมีการพัฒนาคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลในประเทศไทยให้มีความครอบคลุม ด้านพัฒนาคุณภาพการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพตามมาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพในระดับชาติ กรมการแพทย์ควรพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านอาชีวเวชศาสตร์ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ กรมควบคุมโรค และกรมการขนส่งทางบก ควรมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านสุขภาพและฐานข้อมูลการอนุญาตใบขับขี่ทุกประเภท เพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานะสุขภาพความพร้อมในการขับขี่ของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ และจัดตั้งคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ที่ได้มาตรฐาน
References
จเรย์ พูลผล. (2558). การศึกษาความปลอดภัยในการให้บริการรถตู้โดยสารระหว่างเมืองในภาคใต้. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ถิรยุทธ ลิมานนท์, ภาวัต ไชยชาณวาทิก, อลงกรณ์ โสภาพันธุ์ และวรลักษณ์ สุวรณ. (2557). การพัฒนาระบบการประเมินความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะระหว่างจังหวัดในประเทศไทย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 4(2), 37-53. [ สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kbej/article/view/74475/60030
รัชพร ศรีเดช และลัญชนา พิมพันธ์ชัยยบูลย์. (2564). อุบัติเหตุบนท้องถนน: การสร้างแรงจูงใจเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในวัยรุ่นและเยาวชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 22(43),127-136.[ออนไลน์].[ สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/view/250900/171791
วาสนา เขื่อนแก้ว. (2553). ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาล และผลกระทบของจังหวัดแพร่ ปี 2551-2553. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 6(3), 287-296. [สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/191216/133528
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2567). รายงานโครงการพัฒนาระบบการตรวจประเมินความพร้อมทางการแพทย์ ในผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว (Medical Fitness to Drive) เพื่อลดความเสี่ยงจากการขับขี่ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน. กรุงเทพมหานคร.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). อุบัติเหตุทางถนน…ความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://tdri.or.th/2017/08/econ_traffic_accidents/
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. (2565). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2565 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2567]; แหล่งข้อมูล: https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2566-11/RoadAccidentAna2565_final.pdf
Austroads. (2017). Austroads Annual Report 2016-17 [online]. [cited 2024 November 20]. Available from: https://austroads.gov.au/publications/corporate-reports-and-plans/ap-c20-17
Government of United Kingdom. (2020). DVLA annual report and accounts 2019 to 2020 [online]. [cited 2024 November 20]. Available from: https://www.gov.uk/government/publications/dvla-annual-report-and-accounts-2019-to-2020
Redelmeier D. A. (2014). The fallacy of interpreting deaths and driving distances. Medical decision making : an international journal of the Society for Medical Decision Making, 34(8), 940-943. [cited 2024 November 20]. Available from: https://doi.org/10.1177/0272989X14526642
Rwth Stuckey, Anthony D. LaMontagne and Malcolm Simc. (2007). Working in light vehicles - A review and conceptual model for occupational health and safety, Accident Analysis and Prevention, Volumn 39, Page 1006-1014. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17854576/
Scott, J. (1990). A matter of record: Documentary sources in social research. Polity press: Cambridge.