ผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (โควิด-19) โรงพยาบาลไทรงาม

ผู้แต่ง

  • นลิน จรุงธนะกิจ โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

โควิด-19, เบาหวานขนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อลดความแออัด ลดโอกาสรับและแพร่เชื้อในโรงพยาบาล คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลไทรงาม จึงจัดทำแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ โควิด-19 ดังนั้นเพื่อประเมินผลของแนวทาง ผู้วิจัยจึงวางแผนการศึกษาผลของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังการปรับรูปแบบบริการ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive study) ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective data) ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเดียวกัน ประเมินผลก่อนและหลังการรับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (โควิด-19) โรงพยาบาลไทรงาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เก็บข้อมูล Fasting blood sugar (FBS) Hemoglobin A1C (HbA1c) อายุ เพศ สถานภาพ และระดับการศึกษา จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลไทรงาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สถิติด้วย Paired t-test, Chi-square test และ McNemar’s test กำหนดค่าระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.8 อายุเฉลี่ย 54.74 ± 10.75 ปี ค่าเฉลี่ย FBS ก่อนและหลังให้บริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษฯ เท่ากับ 149.55 ± 45.41 mg/dL และ 156.69 ± 46.27 mg/dL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.007) ค่าเฉลี่ย HbA1c ก่อนและหลังให้บริการตามแนวทาง เท่ากับ     7.67 ± 2.3% และ 7.94 ± 2.17% เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.039) โดยสรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษฯ ส่วนใหญ่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ควรพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองร่วมด้วย

Author Biography

นลิน จรุงธนะกิจ, โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

นายแพทย์ชำนาญการ

References

Hfocus.orgเจาะลึกระบบสุขภาพ. สถานการณ์โรคเบาหวานปี พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราป่วยโรค NCDs 2559-2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020

American Diabetes Association. American Diabetes Association Standards of Medical Care in Diabetes 2019. Diabetes Care [Internet]. 2019;42(Supplement 1):103–124. Available from: https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg

Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. สมาคมโรคเบาหวานอบรม “ทางเลือกใหม่รักษาเบาหวานชนิด 2” เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง [อินเตอร์เน็ต]. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/print/18016

ปฐมพร ศิรประภาศิริ. แนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจาย COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. ไม่ปรากฎสำนักพิมพ์; 2563. หน้า16–17. เข้าถึงได้จาก: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=23moph.go.th/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 [อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; หน้า 35-6. สืบค้นจาก: https://www.dmthai.org/

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี2563. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563. หน้า 43.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). 2563;68.

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในรูปแบบเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2554;18(1):7–16.

อารีย์ นิสภนันต์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสตึกและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561;33(2):179–92.

กรรณิการ์ เชิงยุทธ, นงนุช โอบะ, ธนกร ลักษณ์สมยา. ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชิดที่2 ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2554;6(2):110–21.

กองยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561. 2561.

พนม สุขจันทร์, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์. ความครอบคลุมและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2556;5(3):25–36.

สุชานัน แก้วสุข. สัดส่วนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ในคลินิกหมอครอบครัวนครนนท์1. PCFM. 2020;3(3):59–72.

อรุณรัตน์ สู่หนองบัว, ไดอาน่า ศรีพรกิจขจร. ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานรพ.สต.อ.เมืองชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2559;37(2):59–69.

ปิยะวดี ทองโปร่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองของชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี. Ratchathani Innov Heal Sci. 2560;2(4):9–22.

UNFPA Thailand. บทสรุปผู้บริหารผลกระทบโควิด-19ต่อผู้สูงอายุ. UNFPA [อินเอร์เน็ต]. 2020;(ตุลาคม). สืบค้นจาก: https://thailand.unfpa.org/th/covid-op

นิติกุล บุญแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างความตึงเครียดทางอารมณ์ ความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2557;119–31.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556;6(3):102–9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17