การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย

ผู้แต่ง

  • อุษา คำประสิทธิ์ โรงพยาบาลโนนไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารการพยาบาล, หอผู้ป่วยใน, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ระยะศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์  2) ระยะพัฒนาและทดลองใช้ และ 3) ระยะประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย พยาบาลผู้ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยใน 1 ซึ่งดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 – 30 กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) แบบประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสำรวจการเตรียมความพร้อมการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคโควิด-19  การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการพยาบาลโควิด-19 และ แบบประเมินสุขภาพจิตในภาวะ covid-19 2) แบบประเมินเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19

ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยใน ทำให้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับสูง พบปัญหาและอุปสรรคในด้านโครงสร้างและการบริหารอัตรากำลังของพยาบาล ซึ่งผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตึกผู้ป่วยใน มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบท และสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Author Biography

อุษา คำประสิทธิ์, โรงพยาบาลโนนไทย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 10]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php

ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 จ.นครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 5]. เข้าถึงได้จาก : https://covid-19.naKhonratchasima.go.th.

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอโนนไทย (EOC) จ.นครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 5]. เข้าถึงได้จาก : https://district.cdd.go.th/nonthai/about-us/contact-us/

กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อม, จินตนา สุวิทวัส. การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2564;44(2):72-85.

แนวคิดและความเป็นมาของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก : https://pongmed.wordpress.com/2013/08/26/par1/

Jennings-Sanders A. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings Disaster Nursing Management Model. Nurse Educ Pract. 2004 Mar;4(1):69-76. doi: 10.1016/S1471-5953(03)00007-6.

สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาด ของโรค COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 5]. เข้าถึงได้จาก : http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8620

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2564 เม.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/covid19/qa/

Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: WH Freeman; 1997.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill. 1971.

ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):320-33.

วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, ปุณณิภา คงสืบ, เชาวรินทร์ คำหา, ศุภกิจ ศิริลักษณ์. การบริหารจัดการอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และหน้ากาก N95 สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(1):137-49.

รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ. การจัดการทางการพยาบาลในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาล 2564;70(3):64-71.

นุชรี จันทร์เอี่ยม, มาลีวรรณ เกษตรทัต, พรพิมล คุณประดิษฐ์, ศศิประภา ตันสุวัฒน์. การบริหารจัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน. Journal of the Phrae Hospital 2564; 29(1):115-28.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี (Udon Model). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;30(1):53-61.

ประภา ราชา, จารุภา คงรส, ธนพร สดชื่น. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(3):414-26.

นภาพร อภิรดีวจีเศรษฐ์, เสาวนีย์ เนาวพาณิช, จิตหทัย สุขสมัย, ชุติพันธุ์ ติ๋วโวหาร, รักษนันท์ ขวัญเมือง. การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19. วารสารเวชบันทึกศิริราช 2564;14(4):81-90.

สิมาพร พรมสาร, ปิยะณัฐ พรมสาร, กนกวรรณ รัตนแสงเลิศ. ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เวชสารแพทย์ทหารบก 2564;74(3):197-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18