ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ สุขเรืองกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จักรพันธ์ โพธิภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • วสันต์ชาย สุรมาตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น
  • มณฑิรา ชนะกาญจน์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น
  • กัลยา ปังประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น
  • เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

นักศึกษาพยาบาล เป็นกลุ่มนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อนำไปเผยแพร่ สอน ให้การดูแล ให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ ดังนั้นความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงมีความจำเป็นทั้งกับนักศึกษาพยาบาลเอง และการปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาล การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 196 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (ST5) 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมตามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 6) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย และได้ทำการทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องมือทั้งหมดแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก (Multiple logistic regression)

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ภาพรวมอยู่ในระดับที่เพียงพอ ร้อยละ 57.14 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1) ระดับความเครียด (ORadj=8.54; 95% CI: 3.68-19.82) 2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (ORadj=7.32; 95% CI: 2.75-19.45) 3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ORadj=3.60; 95% CI: 1.44-5.95) 4) ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ (ORadj= 2.80; 95% CI: 1.28-6.10) และ 5) การสนับสนุนทางสังคม (ORadj= 2.35; 95% CI: 1.09-5.05) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพต่อไป

Author Biographies

อลงกรณ์ สุขเรืองกูล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์

จักรพันธ์ โพธิภาพ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์

วสันต์ชาย สุรมาตย์, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

มณฑิรา ชนะกาญจน์, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

กัลยา ปังประเสริฐ, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น

อาจารย์

เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อการฝึกภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วยในวิชาพื้นฐานการพยาบาล. วารสารพยาบาล 2547;53(4): 204-13.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์ 2558; 22: 45-55.

สืบตระกูล ตันลานุกุล, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9(1): 81-92.

Sørensen K, Van den Broucke S, Fullam J, et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health. 2012; 12:80. doi:10.1186/1471-2458-12-80.

Sørensen K, Brand H. Health literacy lost in translations. Introducing the European Health Literacy Glossary. Health Promot Int. 2014;29(4):634-44. doi:10.1093/heapro/dat013.

Berkman ND, Sheridan SL, Donahue KE, Halpern DJ, Crotty K. Low health literacy and health outcomes: an updated systematic review. Ann Intern Med. 2011;155(2):97-107. doi:10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005

Erunal M, Özkaya B, Mert H, Kucukguclu O. Investigation of Health Literacy Levels of Nursing Students and Affecting Factors. International Journal of Caring Sciences. 2019; 11(3): 1386-95.

วัชราพร เชยสุวรรณ, อมลวรรณ ตันแสนทวี และคณะ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45(2): 250-66.

Holt KA, Overgaard D, Engel LV, Kayser L. Health literacy, digital literacy, and eHealth literacy in Danish nursing students at entry and graduate level: a cross sectional study. BMC Nurs. 2020; 19:22. doi:10.1186/s12912-020-00418-w.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977; 84(2):191–215.

จรูญรัตน์ รอดเนียม, สกุนตลา แซ่เตียว, วรวรรณ จันทวีเมือง. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถ ของตนเองกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2557; 23,(3): 88-97.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MN. Health promotion in nursing practice (4th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall. 2006.

ธนพร แย้มศรี, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; (2): 158-67.

Sørensen K, Van den Broucke S, Pelikan JM, et al. Measuring health literacy in populations: illuminating the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q). BMC Public Health. 2013; 13:948. doi:10.1186/1471-2458-13-948.

Li S, Cui G, Kaminga AC, Cheng S, Xu H. Associations Between Health Literacy, eHealth Literacy, and COVID-19-Related Health Behaviors Among Chinese College Students: Cross-sectional Online Study. J Med Internet Res. 2021;23(5): e25600. doi:10.2196/25600

Zhang Y, Zhang F, Hu P, et al. Exploring Health Literacy in Medical University Students of Chongqing, China: A Cross-Sectional Study. PLoS One. 2016;11(4): e0152547. doi: 10.1371/journal.pone.0152547

Ribeiro FMSES, Mussi FC, Pires CGDS, Silva RMD, Macedo TTS, Santos CAST. Stress level among undergraduate nursing students related to the training phase and sociodemographic factors. Rev Lat Am Enfermagem. 2020;28: e3209. doi:10.1590/1518-8345.3036.3209

Charoghchian Khorasani E, Tavakoly Sany SB, Orooji A, Ferns G, Peyman N. Health Literacy in Iranian Women: A Systematic Review and Meta-Analysis. Iran J Public Health. 2020;49(5):860-874.

Mao Y, Xie T, Zhang N. Chinese Students' Health Literacy Level, and Its Associated Factors: A Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health. 2020;18(1):204. doi:10.3390/ijerph18010204

Mei X, Zhong Q, Chen G, Huang Y, Li J. Exploring health literacy in Wuhan, China: a cross-sectional analysis. BMC Public Health. 2020;20(1):1417. doi:10.1186/s12889-020-09520-9

Zhong Y, Schroeder E, Gao Y, Guo X, Gu Y. Social Support, Health Literacy and Depressive Symptoms among Medical Students: An Analysis of Mediating Effects. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(2):633. doi:10.3390/ijerph18020633

Nutbeam D. Health promotion glossary. Health Promotion International. (1998); 13(4): 349–364. doi: 10.1093/heapro/13.4.349

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 2000; 15(3):259–67. doi: 10.1093/heapro/15.3.259

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-13