ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่หน่วยบริการปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรสิทธิ์ พันธุ์พานิช, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์, พ.บ. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
  • ธนกมณ ลีศรี, Ph.D. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ภาวะยูริคในเลือดสูง, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, โรคเรื้อรัง, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นภาวะที่สามารถพบได้ในประชากรทั่วไป และมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ส่วนมากจะไม่มีอาการ แต่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบหัวใจ
และหลอดเลือด และโรคไตเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาในประชากรทั่วไป ข้อมูลการศึกษายังมีจำกัดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 172 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลลักษณะทั่วไปของประชากร และข้อมูลด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ
เชิงวิเคราะห์ได้แก่ Independent t-test, Chi-square test, Fisher exact test โดยใช้ Binary logistic regression

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ จากปัจจัยข้อมูลทั่วไป คือ การรับประทานอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เป็ด ไก่ ชะอม กระถิน ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ และน้ำซุป เป็นประจำ (OR=3.37, 95% CI=1.54-7.38) และจากปัจจัยข้อมูลทางคลินิกคือ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (OR=4.46, 95% CI=1.46-13.60) และระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg (OR=11.48, 95% CI=3.77-34.94) การเข้าใจและตระหนักในปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้หน่วยบริการระดับ
ปฐมภูมิมีการตรวจติดตามระดับกรดยูริกในเลือดแก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนให้ความรู้ คำแนะนำ การป้องกันแก่บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงให้มีการปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้นไป

Author Biographies

พรสิทธิ์ พันธุ์พานิช, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ปฏิบัติการ

ธาตรี โบสิทธิพิเชฏฐ์, พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ธนกมณ ลีศรี, Ph.D., สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

สมาคมรูมาติสซั่ม แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 27]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairheumatology.org/wp-content/uploads/2016/08/Guideline-for-Management-of-Gout.pdf

Koopman WJ, Moreland LW, editors. Arthritis and Allied Conditions: A Textbook of Rheumatology, 15th edition. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

American College of Rheumatology. Guideline for the Management of Gout [Internet]. 2020 [Cited 2021 January 27]. Available from: https://www.rheumatology.org/Portals/0 /Files/Gout-Guideline-Early-View-2020.pdf?fbclid=IwAR0ywDhiCk2pHXMRBc32Q Xwm3gR7P0uu0dogDDRdo1jA4xDI81LWYbkHBJk

Kim SY, Guevara JP, Kim KM, Choi HK, Heitjan DF, Albert DA. Hyperuricemia and Risk of Stroke: A Systematic Review and Meta-analysis. Arthritis Rheum.2009;61(7):885–92.

Li M, Hu X, Fan Y, Li K, Zhang X, Hou W, et al. Hyperuricemia and the risk for coronary heart disease morbidity and mortality : A systematic review and dose-response meta-analysis. Sci Rep.2016;6:19520.

Li L, Yang C, Zhao Y, Zeng X, Liu F, Fu P. Is hyperuricemia an independent risk factor for new-onset chronic kidney disease? a systematic review and meta-analysis based on observational cohort studies. BMC Nephrology.2014;15:122.

Zhao G, Huang L, Song M, Song Y. Baseline serum uric acid level as a predictor of cardiovascular disease related mortality and all-cause mortality: A meta-analysis of prospective studies. Atherosclerosis Journal.2013;231:61-8.

Smith E, March L. Global Prevalence of Hyperuricemia: A Systematic Review of Population-Based Epidemiological Studies [Internet]. 2015 [Cited 2021 January 27]. Available from: https://acrabstracts.org/abstract/global-prevalence-of-hyperuricemia-a-systematic-review-of-population-based-epidemiological-studies.

Qiu L, Cheng XQ, Wu J, Liu JT, Xu T, Ding HT, et al. Prevalence of hyperuricemia and its related risk factors in healthy adults from Northern and Northeastern Chinese provinces. BMC Public Health.2013;13:664.

อมร เปรมกมล, ฐานพัฒน์ ดิฐสถาพรเจริญ, บังอรศรี จินดาวงศ์, นภาพร ครุสันต์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ความชุกของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในประชากรในเขตชนบท จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร.2554;26(1):41–7.

Choukem SP, Mengue JA, Doualla MS, Donfack OT, Beyiha G, Luma HN. Hyperuricemia in patients with type 2 diabetes in a tertiary healthcare center in sub-Saharan Africa: prevalence and determinants. Trop Doct. 2016;46(4):216-21.

Schlesinger N. Dietary Factors and Hyperuricemia. Current Pharmaceutical Design, 2005;11:4133-8.

ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. Thai CV Risk score [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 27]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/med/th/news /announcement/07152015-1310-th

Benn CL, Dua P, Gurrell R, Loudon P, Pike A, Storer RI, et al. Physiology of Hyperuricemia and Urate-Lowering Treatments. Front Med (Lausanne).2018;5:160

Aihemaitijiang S, Zhang Y, Zhang L, Yang J, Ye C, Halimulati M, et al. The Association between Purine-Rich Food Intake and Hyperuricemia: A Cross-Sectional Study in Chinese Adult Residents. Nutrients. 2020;12(12):3835.

Lohsoonthorn V, Dhanamun B, Williams MA. Prevalence of hyperuricemia and its relationship with metabolic syndrome in Thai adults receiving annual health exams. Arch Med Res.2006;37(7):883-9.

Ali A, Shaikh KR, Shaikh S, Memon S, Siddiqui SS, Hingoro S. Hyperuricemia: Gender and Religion Based Clinical Observations. Pakistan Journal of Medical and Health Sciences.2021;15(4):813-5.

Huang XB, Zhang WO, Tang WW, Liu Y, Ning Y, Huang C, et al. Prevalence and associated factors of hyperuricemia among urban adults aged 35–79 years in southwestern China: a community‑based cross‑sectional study. Scientific Reports.2020;10:15683.

Lee TH, Chen JJ, Wu CY, Yang CW, Yang HY. Hyperuricemia and Progression of Chronic Kidney Disease: A Review from Physiology and Pathogenesis to the Role of Urate-Lowering Therapy. Diagnostics (Basel).2021;11(9):1674

Jeong H, Moon JE, Jeon CH. Hyperuricemia is Associated with an Increased Prevalence of Metabolic Syndrome in a General Population and a Decreased Prevalence of Diabetes in Men. Journal of Rheumatic Diseases.2020;27:4

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 27]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaihypertension. org/files/HT%20guideline%202019.with%20watermark.pdf

Raja R, Kavita F, Amreek F, Shah A, Sayeed KA, Seha A. Hyperuricemia Associated with Thiazide Diuretics in Hypertensive Adults. Cureus.2019;11(8):5457.

Vandell AG, McDonough CW, Gong Y, Langaee TY, Lucas AM, Chapman AB, et al. Hydrochlorothiazide-induced hyperuricemia in the Pharmacogenomic Evaluation of Antihypertensive Responses (PEAR) study. J Intern Med. 2014;276(5):486-97.

Mazzali M, Kanellis J, Han L, Feng L, Xia YY, Chen Q, et al. Hyperuricemia induces a primary renal arteriolopathy in rats by a blood pressure independent mechanism. Am J Renal Physiol.2002;282:F991–7

Ni O, Lu X, Chen C, Du H, Zhang R. Risk factors for the development of hyperuricemia A STROBE-compliant cross-sectional and longitudinal study. Medicine (Baltimore). 2019;98(42):e17597.

Chen S, Guo X, Yu S, Sun G, Yang H, Li Z, et al. Association between Serum Uric Acid and Elevated Alanine Aminotransferase in the General Population. Int J Environ Res Public Health. 2016;13(9):841.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-20