ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญสัน อนารัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • นิรันดร์ ถาละคร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การควบคุมระดันน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 370 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นำเสนอค่า Adjusted odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95%

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ  65.68 อายุเฉลี่ย 62.57 ปี (SD=11.09) สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 81.35 จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.62 กลุ่มตัวอย่างควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ร้อยละ 41.08 (95% CI=36.15–46.19) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ (1) พฤติกรรมการควบคุมอาหาร (Adjusted OR=2.23, 95% CI=1.38–3.62, p=0.001) (2) พฤติกรรมการรับประทานยารักษาเบาหวาน  (Adjusted OR=2.02, 95% CI=1.25–3.27, p=0.004) (3) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล (Adjusted OR=1.90, 95% CI=1.14–3.15, p=0.013)  และ (4) ความรอบรู้ด้านความเข้าใจ (Adjusted OR=3.48, 95% CI=1.96–6.19, p<0.001)

ดังนั้น ควรวางกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลและด้านความเข้าใจ รวมทั้งพฤติกรรมการควบคุมอาหารและการรับประทานยารักษาเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

Author Biographies

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

บุญสัน อนารัตน์, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

นิรันดร์ ถาละคร, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2564 กันยายน 20]. เข้าถึงได้จาก: Thailand Blueprint for Change_2017_TH.pdf (novonordisk.com)

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 7th ed. Brussels, Belgium: International Diabetes Federation; 2015.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อรุณการพิมพ์; 2557.

Adham M, Froelicher ES, Batieha A, Ajlouni K. Glycaemic control and its associated factors in type 2 diabetic patients in Amman, Jordan. East Mediterr Health J 2010; 16(7):3-10.

American Diabetes Association. Standard of medical care in diabetes-2017. Diabetes care 2017; 40 (Suppl 1): S48-S56.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี 2563. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Misraa R, Lager J. Ethnic and gender differences in psychosocial factors, glycemic control, and quality of life among adult type 2 diabetic patients. Journal of Diabetes and Its Complications 2009;23(1):54–64.

Mondesir F, White K, Liese D, McLain A. Gender, Illness-related diabetes social support, and glycemic control among middle-aged and older adults. Journals of Gerontology: Social Sciences 2016;71(6):1081-8.

Chetty R, Pillay S. The relationship between age and glycaemic control in patients living with diabetes mellitus in the context of HIV infection: a scoping review. Journal of Endocrinology, Metabolism and Diabetes of South Africa 2022;27(1):1-7.

Khattaba M, Khader Y, Khawaldehd A, Ajlouni K. Factors associated with poor glycemic control among patients with type 2 diabetes. Journal of Diabetes and its Complications 2010; 24(2):84-9.

Fiseha T, Alemayehu E ,Kassahun W, Adamu A, Gebreweld A. Factors associated with glycemic control among diabetic adult out-patients in Northeast Ethiopia. BMC Res Notes 2018;11:316.

Gao J, Wang J, Zheng P, Haardorfer R, Kegler M, Zhu Y, et al. Effects of self-care, self-efficacy, social support on glycemic control in adults with type 2 diabetes.

Gao et al. BMC Family Practice 2013;14:66. doi: 10.1186/1471-2296-14-66.

Hong-Ting Zhu H, Min Y, Hao H, Qing-Fang H, Jin P, Ru-Ying H. Factors associated with glycemic control in community-dwelling elderly individuals with type 2 diabetes mellitus in Zhejiang, China: a cross-sectional study. BMC Endocrine Disorders 2019; 19(1):57. doi: 10.1186/s12902-019-0384-1. PMID: 31170961; PMCID: PMC6555723.

Bailey SC, Brega AG, Crutchfield TM, Elasy T, Herr H, Kaphingst K, et al. Update on health literacy and diabetes. Diabetes Educ 2014; 40(5): 581-604.

Magnani JW, Mujahid MS, Aronow HD, Cené CW, Dickson VV, Havranek E, et al. Health literacy and cardiovascular disease: fundamental relevance to primary and secondary prevention: A scientific statement from the American Heart Association. Circulation 2018; 138(2):e48-74.

Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, Pelikan J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012;12:80.

Sayah F, Majumdar S, Egede L, Johnson J. Associations between health literacy and health outcomes in a predominantly low- income African American population with type 2 diabetes, Journal of Health Communication. 2015; 20(5): 581-8.

Tseng H, Liao S, Wen Y, Chuang Y, Stages of change concept of the trans theoretical model for healthy eating links health literacy and diabetes knowledge to glycemic control in people with type 2 diabetes. Primary Care Diabetes 2017;11(1): 29-36.

Hashim SA, Barakatun-Nisak MY, Abu Saad H, Ismail S, Hamdy O, Mansour AA. Association of health literacy and nutritional status assessment with glycemic control in adults with type 2 diabetes mellitus. Nutrients 2020; 12(10):3152.

Huang M, Shiyanbola O, Smith D. Association of health literacy and meducation self-efficacy with medication adherence and diabetes control. Patient Prefer Adherence 2018; 12:793-802.

Yokokawa H, Fukuda H, Fujibayashi K, Yuasa M, Okamoto A, Taneda Y, et al. Examining health literacy and healthy lifestyle characteristics as associated with glycemic control among community-dwelling Japanese people. Diabetes Manag 2019; 9(1):39-47.

Bains S, Egede L. Associations between health literacy, diabetes knowledge, self-care behaviors, and glycemic control in a low-income population with type 2 diabetes. Diabetes Technol Ther 2011; 13(3):335-41.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17(14):1623-34.

อุสา พุทธรักษ์, เสาวนันท์ บําเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลก้างปลา จังหวัดเลย. ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (The National Graduate Research Conference) ครั้งที่ 34 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557; MMP11: 989-1000.

Best, JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2561;18(2);142-55.

The Action to Control Cardiovascular Risk in Diabetes Study Group, Gerstein HC, Miller ME, Byington RP, Goff DC, Bigger JT, Buse JB, et al. Effects of Intensive Glucose Lowering in Type 2 Diabetes. NEJM 2008; 358: 2545-59.

เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม, ประยูร โกวิทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(3):11-20.

Ferguson M, Long J, Zhu J, Small B, Lawson B, Glick H, et al. Low Health Literacy Predicts Misperceptions of Diabetes Control in Patients with Persistently Elevated A1C. The Diabetes Educators 2015; 41(3):309-19.

Swavely D, Vorderstrasse A, Maldonado E, Etchason E. Implementation and evaluation of a low health literacy and culturally sensitive. Diabetes Education Program. Journal for Healthcare Quality 2014.36(6):16-23.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561; 6(2):102-9.

World Health Organization. Division of health promotion, education and communications health education and health promotion unit. Health promotion glossary 1998; 10.

Tefera YG, Gebresillassie BM, Emiru YK, Yilma R, Hafiz F, Akalu H, et al. Diabetic health literacy and its association with glycemic control among adult patients with type 2 diabetes mellitus attending the outpatient clinic of a university hospital in Ethiopia. PLoS ONE 2020; 15(4): e0231291.

Sonthon P. Association between health literacy and glycemic control of patients with type 2 diabetes mellitus. THJPH 2020; 50(1): 76-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-12