ผลของการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อรุณ บุญสร้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, พี่เลี้ยง, กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น, สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต 10

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 อุบลราชธานี จำนวน 94 คน
ที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นระหว่าง วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกองทุนเพิ่มขึ้น 2.06 คะแนน
(95% CI = 1.92-2.21) ทัศนคติต่อการดำเนินงานกองทุนเพิ่มขึ้น 2.18 คะแนน (95% CI = 2.08-2.28)
การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลกองทุนเพิ่มขึ้น 2.18 คะแนน (95% CI = 2.07-2.29) การทำงาน
เป็นทีมเพิ่มขึ้น 2.07 คะแนน (95% CI = 1.92-2.23) และทักษะการเป็นโค้ชเพิ่มขึ้น 2.29 คะแนน
(95% CI = 2.16-2.42) สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Author Biographies

อรุณ บุญสร้าง, วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาจารย์

อารี บุตรสอน, วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

กิตติ เหลาสุภาพ, วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

วีระศักดิ์ เครือเทพ. ประเมินผลการกระจายอำนาจของไทยระยะ 15 ปี: สังคมไทยได้อะไร ก้าวหน้า ไปถึงไหน และจะเดินต่อไปกันอย่างไร? กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า; 2557.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. การปฏิรูปการกระจายอำนาจและการจัดการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เป็นไท; 2555.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2562.

วรายุทธ ดีเลิศแล้ว. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพระดับพื้นที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.

สุรชัย เทียมพูล. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2560.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. โครงการพัฒนาศักยภาพการทำงานกองทุน สปสช. ขององค์กรภาคีองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลชุมชนและเครือข่ายบริการสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,รายงานฉบับสมบูรณ์; 2552.

ดิเรก ปัทมสิริรัตน์, สุเมธ แก่นมณี, สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, ไชยยะ คงมณี, พัชรินทร์ สิระสุนทร,

พีรธร บุญยรัตพันธ์, และคณะ. รายงานการวิจัยนโยบายสาธารณะ: ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย สถาบันอุดมศึกษา 8 มหาวิทยาลัย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ; 2550.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. บทสังเคราะห์การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3 / 2552 วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2552. นนทบุรี. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2552.

Bonenberger M, et al. Factors influencing the work efficiency of district health managers in low-resource settings: a qualitative study in Ghana. BMC Health Serv Res. 2016;16:12.

วชิรา เครือคำอ้าย, ชวลิต ขอดศิริ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/ 123456789/1440; 2561.

สุจินดา สถิรอนันต์, ศิริ เจริญวัย, ไพศาล หวังพานิช, สงวนพงศ์ ชวนชม. การพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ ของอาจารย์พยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559; 12(1): 31-41.

ณิรดา เวชญาลักษณ์, ธัญญาพร ก่องขันธ์, จอมขวัญ รัตนกิจ, สุกัญญา สีสมบา. แนวทางการพัฒนาครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ เกี่ยวกับการหนุนเสริมด้วยการ “Coaching” และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2562; 7(2):143-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-21