การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน

ผู้แต่ง

  • ไพรวัลย์ โคตรตะ, ค.ด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อมรรัตน์ นธะสนธิ์, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรอุมา แก้วเกิด, ปร.ด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ภาวะน้ำหนักเกิน, โรคอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษาสาเหตุ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบบันทึกค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวต่อรอบสะโพก เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired sample t-test การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน 2) การวางแผน 3) การปฏิบัติ และ 4) การพัฒนาและปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (27.85±3.89, 27.10±1.54 กก./ม.2) และสัดส่วนเส้นรอบเอวต่อรอบสะโพกเฉลี่ย (0.88± 0.07, 0.81±0.06) หลังเข้าร่วมโครงการวิจัยลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัยตามลำดับ

Author Biographies

ไพรวัลย์ โคตรตะ, ค.ด., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อมรรัตน์ นธะสนธิ์, พย.ม., คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อรอุมา แก้วเกิด, ปร.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์

References

World Cancer Research Fund International. The link between food, nutrition, diet and non-communicable diseases: Why NCDs need to be considered when addressing major nutritional challenges [serial online]. 2014 [cited 2018 August 26]. Available from: https://www.wcrf.org/wp-content/uploads/2021/07/WCRF-NCD-A4-WEB.pdf

World bank. Health and Non-communicable disease [serial online] .2016 [cited 2020 March 15]. Available from: https://thedocs.worldbank.org/en/doc/143531466064202659-0070022016/original/pacificpossiblehealthsummary.pdf

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด; 2557.

อมรรัตน์ นธะสนธิ์, นพวรรณ เปียซื่อ, ไพลิน พิณทอง. ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการในชุมชนกึ่งชนบท จังหวัดอุบลราชธานี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2560;23(3): 344-57.

ไพรวัลย์ โคตรรตะ, อมรรัตน์ นธะสนธิ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2563;26(3):338-53.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. เทรนด์วิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2561 มีนาคม 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/trend/detail/4999

สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. วัยทำงานเสี่ยงโรคเรื้อรังคุกคาม [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 กุมภาพันธ์ 13]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th

Budreviciute A. et al. Management and prevention strategies for non-communicable diseases (NCDs) and their risk factors. Frontiers in Public Health. 2020 [cited 2021 March 8]. Available from: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpubh.

574111/full

Masters J. The history of action research [Internet]. 1995 [cited 2020 May 19]. Available from: http://www.behs.cchs.usyd.edu.au/arow/Reader/rmasters.htm

Abraham C, Sheeran P. The health belief mode [Internet]. 2015 [cited 2020 June 7]. Available from: http://www.researchgate.net/publication/290193215

สิรินาถ ชาบุญเรือง, ประนอม รอดคำดี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนโดยกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมการบริโภคและการออกำลังกายของวัยรุ่นตอนต้นที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32(3):119-26.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559;5(2):33-47.

วัชรินทร์ วรรณา, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะน้ำหนักเกินในอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(4):344-50.

กรรณิการ์ ศรีสมทรง, เรวดี เพชรศิราสัณห์, นัยนา หนูนิล. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2564;27(2):232-46.

ธีรยุทธ มงคลมะไฟ. ปัจจัยความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.

คัทลิยา วสุธาดา, ลลิตา เดชาวุธ, นันทวัน ใจกล้า, สายใจ จารุจิตร. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2561;29(2):47-59.

ปรีชารีฟ ยีหรีม, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสตรีมุสลิมที่มีภาวะอ้วนในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2559;27(2):31-42.

ณัฐชยา แก้วโภคา, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2560;12(4):50-6.

สิรินันท์ เจริญผล, รัตน์ศิริ ทาโต. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560;29(2):136-48.

ปนันดา จันทร์สุกรี, นิตินัย รุ่งจินดารัตน์. การวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายโดยใช้ตัวชี้วัดทางปัญญาสังคม: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ็น เอส พี เซอร์วิสเซ็นเตอร์; 2558.

ไวริญจน์ เปรมสุข, รัตน์สิริ ทาโต, ระพิณ ผลสุข. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์. 2562; 26(1):24-39.

ไพรวัลย์ โคตรตะ, กชพงศ์ สารการ, ปาริชาต รัตนราช. ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ2559;10(1):25-31.

อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2560;10(37):58-66.

สิริพร วงศ์ตรี. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังโดยมิติชุมชน กรณีศึกษาตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2561;4(2):93-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05